พุยพุย

วันเสาร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2559


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9 วันพุธที่ 9 มีนาคม พ.ศ.2559



บันทึกการเรียนรู้ในวันนี้
          
          อาจารย์ก็เข้าสู่เนื้อหาการเรียนการสอนโดยถามนักศึกษาแต่ละคนว่าเมื่ออาทิตย์ที่แล้วที่นักศึกษาหยุดไปดูงานที่โรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศน์ นักศึกษาได้ความรู้อะไรบ้างที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์เพื่อที่จะเอามาแชร์ให้กันฟังกิจกรรมและสื่อที่นักศึกษาได้ไปดูงานและอาจารย์ก็นำแนวทางการศึกษาดูงานมาแนะนำให้เข้ากับคณิตศาสตร์ให้บูรณาการกับวิชาอื่นยกตัวอย่างเช่น

-กิจกรรมเคลื่อนไหวแบบผู้นำผู้ตาม แตะไหล่ ยกขึ้น กางแขน เมื่อทำซ้ำๆไปเรื่อยๆจะทำให้เด็กรู้ว่าต้องทำอะไรต่อไปซึ่งเป็นการสอนแบบความสัมพันธ์/พีชคณิตซึ่งอยู่ไหรสาระการเรียนรู้คณตศาสตร์
-กิจกรรมที่ทรอดแทรกทักษะทางคณิตศาสตร์ในเรื่องความสัมพันธ์ของตัวเลข 531 , 357 จะเห็นว่าเลขชุด 531 จะลดจำนวนลงไปทีละ 2 จำนวนและชุด 357 จะเห็นได้ว่าจะเพิ่มจำนวนขึ้นทีละ 2 จำนวน เป็นต้น



นำเสนอวีดีโอโทรทัศน์ครู นางสาวภทรธร รัชนิพนธ์
สรุป - กล่าวถึงครูที่อยู่โรงเรียนประถมเกรตบาร์  ในเบอร์มิงแฮมว่ามีวิธีการรับมืออย่างไรในการสังเกตุการณ์เด็กๆและจะวางแผนการสอนคณิตศาสตร์ในชั้นอนุบาลรวมไปถึงประถมอย่างไร

      ครูอแมนดา แม็กเคนนา หัวหน้าครูระดับชั้นป.1-2 เชื่อว่าการเรียนคณิตศาสตร์ควรสนุกสนานและเป็น­ส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน ที่โรงเรียนเกรตบาร์ การเรียนรู้อย่างอิสระผ่านการเล่นเป็นหัวใ­จสำคัญในการพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์ของนักเรี­ยน ขณะนี้โรงเรียนกำลังมุ่งส่งเสริมให้เด็ก ๆ รู้สึกเป็นอิสระที่จะขบแก้ปัญหาคณิตศาสตร์­ด้วยต้วเอง และพัฒนาทักษะเช่น การจดจำตัวเลข การจัดลำดับและการคำนวณไปด้วย 
     ซึ่งครูจะหยิบตัวเลข 6 แล้วบอกว่าตัวนี้เลข 4 ใช่ไหม ลองเชิงเด็กๆว่าสนใจอยู่ไหม เด็กๆก็จะบอกว่านั้นไม่ใช่เลข 6 แต่เป็นเลข 4 และครูก็ให้เด็กๆออกมาหยิบดูว่าเลข 6 ที่แท้จริงเป็นแบบไหน  ครูจะสาธิตวิธีประเมินเด็ก ๆ ผ่านการสังเกตการณ์ในแต่ละวัน และวิธีนำข้อมูลที่ได้เข้าที่ประชุม

สิ่งสำคัญ : การสอนคณิตศาสตร์ เด็กเล็ก เกม กิจกรรมนอกห้องเรียน เรียนรู้ผ่านชีวิตประจำวัน เลขในชีวิตประจำวัน การสร้างแรงบันดาลใจ สื่อการสอน การวัดประเมิน การสังเกตการณ์ การทำงานเป็นทีม การประชุมครู การวางแผนการสอนร่วมกัน การแข่งขัน ความสนุกในการเรียนคณิตศาสตร์ มีความสนุกกับตัวเลข การจัดลำดับ การจดจำตัวเลข การคำนวณ คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ผ่านการเล่น โดยการศึกษาแบบอิสระ การเรียนรู้อย่างอิสระ ความร่วมมือระหว่างครูและผู้ปกครอง scaffolding การแนะแนวร่วมไปถึงการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ในด้านทักษะการคิดวิเคราะห์อีกด้วย 



การนำเสนอโทรทัศน์ครู วิดีโอโทรทัศน์ครู นางสาวจิราภรณื ฟักเขียว 
เรื่องไข่ดีมีประโยชน์
โดยคุณครูรจนา สังวรสินธุ์ โรงเรียนวัดไทรใหญ่ จังหวัดนนทบุรี ได้สอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์เรื่องไข่ดีมีประโยชน์ทำให้เด็กได้สามารถเรียน รู้เนื้อหาเกี่ยวกับไข่ ชนิดของไข่ส่วนประกอบของไข่ ประโยชน์ของไข่ว่าทำให้ร่างกายแข็งแรงแล้วก็อยากให้เด็กอยากหรือชอบที่จะรับ ประทานไข่ แล้วก็เด็กยังสามารถนำไข่มาประกอบอาหารได้

กิจกรรมที่ 1 คือให้เด็กเล่นเกมส่งไข่เป็ดโดยเด็กจะมีประสบการณ์เดิมแล้วว่าไข่เป็นสิ่งที่ แตกได้ง่ายกิจกรรมนี้จะเป็นการฝึกสมาธิให้เด็กได้คิดว่าจะทำอย่างไรส่งไข่ ให้เพื่อนแล้วไข่ไม่แตกเวลาส่งไข่ให้เพื่อนตาต้องมองไปที่เพื่อนตากับมือ ต้องสัมพันธ์กันทำให้เพื่อนสามารถรับไข่ได้ไข่ก็จะไม่ตกลงพื้น 

กิจกรรมที่ 2 ครูเล่านิทานเรื่องไข่ของใครโดยนิทานเรื่องนี้เด็กจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับสีและ ได้รู้จักสัตว์เพิ่มมากขึ้นได้รู้ว่าสัตว์อะไรที่ออกลูกเป็นไข่บ้างในขณะ เล่านิทานเด็กจะมีส่วนร่วมในการตอบคำถามของครูซึ่งการมีส่วนร่วมทำให้เด็ก กล้าแสดงออกแล้วทำให้เด็กมีประสบการณ์มากขึ้นเกี่ยวกับเนื้อหาในนิทานครูนำ นิทานที่เป็นสัตว์ของจริงมาให้เด็กดูเพราะจากในนิทานกับรูปภาพของจริงนั้น แตกต่างกันให้เด็กมีประสบการณ์จริงๆว่าสัตว์ที่ออกลูกเป็นไข่มีรูปร่าง ลักษณะเป็นอย่างไรเด็กจะเห็นภาพชัดเจนเป็นรูปธรรมและเข้าใจได้ง่าย 

กิจกรรมที่ 3 ให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับไข่ให้เด็กได้ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการ สังเกต จำแนก เปรียบเทียบดูว่าไข่แต่ละชนิทมีลักษณะอย่างไรแตกต่างกันอย่างไรซึ่งเด็กให้ เด็กช่วยกันแยกไข่จากตะกร้าใบใหญ่มาใส่ตะกร้าใบเล็กๆที่ครูแบ่งไว้ทั้งหมด ห้าตระกล้าเล็กๆ นอกจากกระบวนการทางวิทยาศาสตร์แล้วไข่ยังบูรณาการเข้ากับคณิตศาสตร์ได้อีก ด้วยโดยเด็กได้เรียนรู้ในเรื่องของจำนวนตัวเลขได้มีการนับเปรียบเทียบมาก น้อยจำนวนเท่ากันไม่เท่ากัน โดยครูให้เด็กช่วยนับไข่ในตระกล้าที่เด็กช่วยกันแยกว่าแต่ละตะกร้ามีใครกี่ ฟองครูถามเด็กว่าไข่ตะกร้าไหนเยอะที่สุดเด็กตอบว่าไข่นกกระทาเพราะมี 10 ฟอง ครูถามว่าใครในตะกร้าไหนน้อยที่สุดนั้นก็คือไข่เป็ดเพราะมีอยู่ 2ฟอง ละครูก็ถามว่าตะกร้าไหนมีจำนวนไข่ที่เท่ากันเด็กก็ตอบว่าไข่เค็มกับไข่ เยี่ยวม้าที่มีจำนวนไข่ที่เท่ากันครูจึงพิสูจน์โดยการนำไข่มานับกันเป็นคู่ หนึ่งต่อหนึ่งผลพิสูจน์คือไข่ทั้งสองมีจำนวนที่เท่ากัน หลังจากที่เด็กได้รู้ส่วนนอกของไข่เเล้วเด็กก็จะได้เรียนรู้ส่วนประกอบของไข่ว่าไข่แต่ละชนิดมีส่วนประกอบที่แตกต่างกันอย่างไรเช่นไข่ขาวของไข่เยี่ยว ม้าจะมีเนื้อสีนำ้ตาลดำส่วนไข่เค็มเนื้อไข่ขาวของไข่เค็มจะมีสีขาวเด็กจะได้ รู้ความแตกต่างระหว่างไข่เค็มกับไข่เยี่ยวม้า ไข่เป็ดกับไข่ไก่อาจจะมีลักษณะใกล้เคียงกันครูควรพยายามชี้แหนะให้เด็กเห็นถึงความแตกต่างระหว่างไข่เป็ดกับไข่ไก่โดยอาจจะมีคำถามว่าลักษณะของไข่แดง ของไข่เป็ดเเละไข่ไก่เป็นอย่างไรสีเหมือนกันไหมแล้วตอกไข่ให้เด็กดูเด็กก็จะ สามารถตอบได้ว่าไข่เป็ดและไข่ไก่มีไข่แดงที่สีแตกต่างกัน ขนาดของไข่เป็ดใหญ่กว่าไข่ไก่

กิจกรรมที่ 4 เป็นกิจกรรมคุกกิ้งคือไข่หวานโดยเด็กสามารถประกอบอาหารที่มีขั้นตอนง่ายๆได้และ เด็กจะเกิดความภาคภูมิใจที่สามารถประกอบอาหารรับทานเองได้ครูให้เด็กร่วมกัน ทำคุกกิ้งเด็กได้รู้ปริมาณการใส่เครื่องปรุงว่าต้องใส่น้ำหกถ้วยตวงและใส่ น้ำตาลหนึ่งถ้วยตวง ขั้นตอนการตอกไข่ครูได้สาธิตให้เด็กดูก่อนพอให้เด็กตอกไข่ครูก็สามารถเข้าไป ช่วยได้เพราะเด็กอาจจะยังไม่มีประสบการณ์การตอกไข่กล้ามเนื้อมือกับตาตายัง ไม่ประสานสัมพันธ์กันเด็กไม่สามารถก่ะได้ว่าต้องกดมือให้ไข่ลงตรงถ้วยพอดี หลังจากนั้นให้เด็กลงมือตอกไข่ใส่ถ้วยแล้วใส่ลงหม้อโดยครูสาธิตในการใส่ไข่ ลงหม้ออย่างไรให้ถูกวิธี เด็กได้มีประสบการณ์เรียนรู้ได้ด้วยตนเองจากการกระทำ leaning by doing เด็กจะเกิดประสบการณ์ตรงและเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการศึกษาที่สูงขึ้น


การนำเสนอวิจัย นางสาวสุวนันท์ สายสุด
สรุปวิจัย (แก้ไข) เรื่อง การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้

        ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองที่มุ่งศึกษาพัฒนาทักษะพื้นฐานทาง คณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียน รู้

-ความมุ่งหมายของวิจัย
เพื่อเปรี่ยบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้

-สมมติฐานในการวิจัย
เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดรูปแบบกิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้มี พัฒนาการทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ก่อนและหลังการทดลองแตกต่างกัน

-ขอบเขตการวิจัย
นักรียนระดับปฐมศึกษา ชาย-หญิง โรงเรียนอนุบาลละอออุทิศ จำนวน 10 ห้อง

-เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
1.แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
2.แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์การสร้างแผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้

-สรุปผลวิจัย
เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์มีคะแนนเฉลี่ยทักษะพื้นฐาน ทางคณิตศาสตร์ โดยรวม 5 ทักษะและการจำแนกรายทักษะ คือ ทักษะการบอกตำแหน่ง ทักษะการจำแนก ทักษะการนับ ทักษะการรู้ค่าของจำนวน และทักษะการเพิ่ม-ลด อยู่ในระดับที่ดี และเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ มีพัฒนาการทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ในทุกทักษะสูงขึ้น
-แผนการสอนการจัดกิจกรรมรูปแบบศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
หน่อย ต้นไม้ หน่วยย่อย ขนาดของต้นไม้
มโนทัศน์ ต้นไม้มีขนาดแตกต่างกัน เช่น ต้นใหญ่ ต้นเล็ก ต้นสูง

จุดประสงค์
-สามารถจำแนกจำแนกขนาดต้นไม้ได้
กิจกรรมศิลปะ ศิลปะค้นหา

กิจกรรมการเรียนการสอน
ขันนำ

1.กระตุ้นการเรียนรู้ คือ ให้สิ่งเร้าที่สอดคล้องกับสาระ
2.กรองสู่มโนทัศน์ คือ กระตุ้นให้สะท้อนคิดและโยงความรู้เพื่อให้เข้าใจมากขึ้ร
ขั้นสอน
3.ครูพาเด็กออกไปสังเกตต้นไม้ในบริเวนสนามเล่นในโรงเรียน บอกจุดประสงค์ว่าจะเรียนเรื่องขนาดของต้นไม้
4.สนทนา ตั้งคำถามกับเด็กเกี่ยวกับต้นไม้ เช่น เด็กๆคิดว่าต้นไม้ในสนามมีขนาดเท่ากันหรือไม่ ต้นไม้ต้นไหนใหญ่ที่สุด ต้นไม้มีจำนวนกี่ต้น (ให้เด็กร่วมกันนับ)
7.ครูแจกกระดาษให้เด็กๆวาดรูปต้นไม้ที่ตนเองชอบ

สรุป
ให้เด็กๆถามเกี่ยวกับผลงานของเพื่อนและร่วมกันสรุปการทำกิจกรรมในครั้งนี้

สื่อ
1.ดินสอ
2.กระดาษ
3.ต้นไม้ที่สนามเด็กเล่น (ของจริง)

ประเมิน
1.สังเกตการตอบคำถามเกี่ยวกับต้นไม้ของเด็ก
2.สังเกตความสนใจในการทำกิจกรรม
3.สังเกตผลงานศิลปะของเด็ก


หลังจากที่เพื่อนๆนำเสนอครบหมดทุกคนแล้ว อาจารย์ก็แจกกระดาษเอ 4 ให้นักศึกษาคนล่ะ 1 แผ่น อาจารย์จะให้นักศึกษาทำ mind map เกี่ยวกับหน่วยที่เลือกนั้นเลือกตามสาระการเรียนรู้ 4 สาระ

1. เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
2. บุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก
3. ธรรมชาติรอบตัวเด็ก
4. สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก

การเลือกหัวข้อเรื่องเราจะเอาเรื่องอะไรก้ได้ที่เกี่ยวกับสิ่งรอบๆตัวเรา ให้ทุกคนเลือกมาคนล่ะ 1 หัวข้อ
ดิฉันเลือก เรื่อง รถยนตร์


ทักษะที่ได้
1.ทักษะองค์ประกอบความรู้
2.ทักษะการลงมือปฏิบัติในการทำกิจกกรม
3.ทักษะการตอบคำถามอาจารย์
4.ทักษะการฟังการนำเสนองานของเพื่อน
5.ทักษะการใช้เทคโนโลยี
6.ทักษะการคิดวิเคราะห์

การนำเอาไปประยุกต์ใช้
1.การที่ได้ทำกิจกรรมจากการเรียนการสอนของวันนี้สามารถเอามาปรับใช้กับเด็กปฐมวัยได้ และเหมาะสมกับการจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์ให้เด็กปฐมวัยได้เหมาะสม
2.สามารถให้นักเรียนได้ใช้กระบวนการคิดอย่างไม่เป็นทางการกับกิจกรรมในชีวิต ประจำวันได้สามารถนำแนวทางการเรียนการสอนที่ถูกต้องไปใช้กับเด็กปฐมวัยได้จริง

เทคนิคการสอนของอาจารย์ 
1.บรรยายเนื้อหาการเรียนครบถ้วนและเข้าใจ 
2.สอนให้เหตุและสอดคล้องกันโดยอาจารย์จะสอดแทรกเรื่องคุณธรรมไปด้วย 
3. เปิดโอกาศให้นักศึกษาตอบคำถามและแสดงความคิดเห็น





การประเมินผล

ประเมินตนเอง
         
        วันนี้ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนและทำกิจกรรมอย่างตั้งใจ สนใจเนื้อหาเรื่องที่เรียน จดบันทึกความรู้ในระหว่างเรียนได้เข้าใจ รับฟังความคิดเห็นของอาจารย์ของเพื่อนในการตอบคำถามของอาจารย์ พยายามคิดและหาคำตอบเมื่อมีคำถาม 

ประเมินเพื่อน
         
       วันนี้ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนและทำกิจกรรมอย่างตั้งใจ  สนใจเนื้อหาเรื่องที่เรียน จดบันทึกความรู้ในระหว่างเรียน วันนี้ทำให้บรรยากาศในการสอนของอาจารย์ต้องติดขัดเพื่อนๆพยายามคิดและหาคำตอบเมื่อมีคำถาม มีการคิดตามเนื้อหาระหว่างที่เรียนและช่วยกันตอบคำถาม

ประเมินอาจารย์
        อาจารย์มีการนำกิจกรรมมาให้ปฏิบัติก่อนเริ่มเนื้อหาอาจารย์ได้ให้คำแนะนำตลอดการเรียนการสอน อธิบายเนื้อหาเรื่องที่เรียนได้ละเอียดและชัดเจน มีการยกตัวอย่างในเนื้อหาที่เรียนทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น คอยรับฟังคำถามหรือเรื่องที่นักศึกษาสงสัยจากเนื้อหาที่เรียนเมื่อจบการเรียนการสอนของวิชาเสมอ



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8 วันพุธที่ 2 มีนาคม พ.ศ.2559


บันทึกการเรียนในวันนี้
ไปศึกษาดูงานที่โรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์


โรงเรียนเน้นการจัดการสอนแบบโครงการ (Project Approach)
     รูปแบบการจัดรูปแบบห้องเรียนเป็นมุมต่างๆมีมุมบล็อค มุมวิทยาศาสตร์ มุมของเล่น มุมผลงานศิลปะและผลงานต่างๆของเด็กที่เด็กได้เรียนในเทอมนี้






















การสอนแบบวงกลม มีกิจกรรมการเคลื่อนไหวเรื่องผีเสื้อในวิชาภาษาอังกฤษ








กิจกรรมปั้นแป้งโดของเด็กอนุบาล 1 













กิจกรรมบวกเลข ลบเลข 









พักกลางวันเด็กๆรับประทานอาหาร





โครงสร้าง

1.การอภิปรายเด็กได้ร่วมสนทนากับเพื่อนทั้งกลุ่มย่อย ทั้งชั้นเรียนเกี่ยวกับเรื่องที่สนใจ ทำให้เด็กมีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห้นซึ่งกันและกัน

2.การทำงานภาคสนามทำงานภาคสนามในที่นี้หมายถงเด็กจะได้รับประสบการณ์ตรงจากการไปศึกาานอกสถานที่

3.การนำเสนอประสบการณ์การนำเสนอประสบการณ์ช่วยให้เด็กได้ทบทวนและจัดระบบประสบการณ์ของตนเอง สิ่งที่นำเสนออาจมาจากการอภิปราย หาหัวข้อที่สนใจการกำหนดคำถามการนำเสนอประสบการณ์ที่ตนเองได้เรียนรู้

4.การสืบค้นการสืบค้นสามารถใช้ข้อมูลที่หลากหลายวิธีตามความสนใจของเด็ก เพื่อค้นหาคำตอบของคำถามที่ตั้งไว้ เด้กอาจสัมภาษณ์พ่อแม่ บุคคลในครอบครัว

5.การจักการแสดงผลงานของเด้กทั้งที่เป็นรายบุคคล รายกลุ่ม วึ่งสามรถนำมาจัดแสดงได้ทุกระยะการดำเนินการตามโครงการ

จากโครงสร้างทั้ง 5 แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่
 ขั้นที่ 1 ระยะเริ่มต้น  เป็นระยความสนใจของเด็ก กำหนดหัวข้อเรื่อง
ขั้นที่ 2 ระยะดำเนินโครงการ  เป็นระยะค้นหาคำตอบ ที่อยากรู้
ขั้นที่ 3 สรุปโครงงาน  ระยะสิ้นสุดความสนใจ การสรุปและทบทวน

จัดกิจกรรมตามสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ แบ่งออกเป็น 6 สาระ
สาระที่ จำนวนและการดำเนินการ
สาระที่ การวัด
สาระที่ เลขาคณิต
สาระที่ พีชคณิต
สาระที่ การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
สาระที่ ทักษะและกระบวนทางคณิตศาสตร์

ทักษะที่ได้รับทางคณิตศาสตร์
 1.เกี่ยวกับรูปทรงและขนาด
2.การนับ การบวก ลบเลข
3.การสังเกตและสัมภาษณ์
4.การวัด ความสั้น ยาว
5.การเปรียบเทียบ และเวลา

การจัดกิจกิจกรรมจัดครบทั้ง 6 กิจกรรม ได้แก่

1.กิจกรรมสร้างสรรค์
2.กิจกรรมเสรี
3.กิจกรรมเสริมประสบการณ์
4.กิจกรรมกลางแจ้ง
5.กิจกรรมเกมศึกษา
6. กิจกรรมเคลื่อนไหว



การวัดและประเมินผล 
1.การสังเกต และสัมภาษ
2.การฟัง การดู
3.การดูผลงาน และวิเคราะห์
4.การเขียนสรุป

ความรู้ที่ได้รับ


จากที่ได้ไปศึกษาดูงานที่โรงเรียนพิบูลเวศก็เห็นการสอนที่หลากหลายและที่สำคัญเด็กสามารถทำกิจกรรมออกมาได้เป็นอย่างดีเด็กได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมด้วยตัวเองโดยที่มีครูชี้แนะอยู่ห่างๆเด็กได้ทำกิจกรรมอย่างอิสระซึ่งจากที่ได้ไปสังเกตุเราสามรถนำแนวทางการสอนมาเป็นแบบอย่างได้ดีสามารถนำแบบการสอนแบบ Project มาใช้ในอนาคตได้ดีการสอนเด็กที่หลากหลายรูปแบบจึงทำให้เด็กเรียนรู้ได้ไวเนื่องจากเด็กได้ลงมือปฏิบัติจริงตามที่เด็กสนใจการสอนที่หลากหลายจึงทำให้เด็กคิดและแก้ปัญหาได้ด้วยตนเองจากการจัดกิจกรรม เด็กได้แสดงความต้องการของตนเองครูก็พร้อมที่จะรับฟังจึงทำให้เด็กได้พัฒนามากยิ่งขึ้น เด็กที่โรงเรียนพิบูลเวศสามารถพูดภาษาอังกฟษได้ตั้งแต่อนุบาลซึ่งครูไม่ได้เจาะจงให้เด็กต้องเรียนวิชาภาษาอังกฤษอย่างเดียวแต่ทุกๆกิจกรรมจะมีการสอนภาษาอังกฤษเข้าไปทรอดแทรกให้เด็กเรียนรู้คำศัพท์เล็กๆน้อยจนเกิดการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น

การนำความรู้เอาไปประยุกต์ใช้

1.การนำความรู้จากกการเรียนการสอนและการทำสื่อต่างๆมาปรับใช้กับการสอนได้
2.ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมและโปรเจตต่างๆเพื่อเอามาปรับใช้

3.สามารถนำแนวการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนมาใช้ได้มาเป็นแนวทางในอนาคต
4.คิดกิจกรรมที่ใหม่ๆให้เด็กได้ลงมือปฎิบัติด้วยตัวเอง
5.คิด ทำสื่อทางคณิตศาสตร์ที่หลากหลายและน่าสนใจ

ทักษะที่ได้รับ

-ทักษะในการสังเกต
-ทักษะในการฟังและการจดบันทึก
-ทักษะในการวิเคราะห์ในเนื้อหา
-ทักษะในการถาม-ตอบ แสดงความคิดเห็น

ประเมินตนเอง
วันนี้พอไปถึงเวลาที่อาจารย์กำหนดได้อย่างตรงต่อเวลามีความพร้อมอย่างเต็มที่ที่จะเก็บความรู้ในวันนี้ เมื่อเริ่มเข้าสู่การสัมนาก็มีการจดบันทึกในขณะที่อาจารย์นั้นให้ข้อมูลการเรียนการสอนของโรงเรียนพิบูลเวศ ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆอย่างตั้งใจ เมื่อลงไปศึกษาเด็กก็ศึกษาอย่างเต็มที่มีการถามเมื่อไม่เข้าใจหรืออยากรู้ข้อมูลเพิ่มเติมและฟังอย่างตั้งใจ

ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆให้ความสนใจมากมีการถาม-ตอบและแสดงความคิดเห็นกันเป็นอย่างดี ร่มมือกันทำกิจกรรมอย่างตั้งใจมีการจดบันทึกขณะที่ได้รับข้อมูลและปฎิบัติตนให้อยู่ในทางที่ดีทุกๆคนให้ความเคารพอาจารย์และเพื่อนๆด้วยกันเองเป็นอย่างดี