พุยพุย

วันเสาร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5 วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ 2559



 บรรยากาศในห้องเรียน
        วันนี้ก็เป็นเหมือนกับทุกๆวันก่อนที่จะเริ่มเข้าสู่การสอนอาจารย์ก็เริ่มเช็คชื่อนักศึกษาคนที่มาก่อนจนถึงคนที่มาเป็นคนสุดท้าย ต่อมาอาจารย์ก็เริ่มสอนโดยให้นักศึกษาทุกคนนำกระดาษชื่อของตนเองไปติดบนกระดานแล้วกลับมานั่งที่เดิมจาก นั้นอาจารย์ก็ได้เริ่มสอนและให้ความรู้พร้อมอธิบายเพิ่มเติม

 สาระการเรียนรู้
-การนำเสนอข้อมูลการทำตารางในการมาเรียนของเด็กก็เป็นการส่งเสริมทางคณิตศาสตร์เพื่อเด็กจะได้บันทึกข้อมูลซึ่งการทำตารางสามารถนำเสนอด้วยแผนภูมิก็ได้
-การทำตารางขึ้นมาทำให้เด็กได้ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ 6 สาระเมื่อเด็กเห็นเด็กสามารถนำมาเชื่อมโยงในการปฎิบัติได้
-สร้างแผนภูมิหรือตารางขึ้นเพื่อให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องของเวลามาก่อน-มาหลัง
-จำนวนเด็กที่มาก่อนมาหลังการที่จะบอกจำนวนได้ต้องนับ นับและบอกจำนวนใช้ตัวเลขบอกจำนวนตัวเลขฮินดูอารบิก
-ให้เด็กรู้จักตัวเลขด้วยรูปภาพเด็กจะสามารถจำได้มากขึ้นและการเปรียบเทียบจำนวนเด็กจะรู้ว่าจำนวนการตื่นนอนเวลาไหนมากกว่าน้อยกว่า เด็กก็จะสามารถเปรียบเทียบจำนวนได้
-พัฒนาการ คือ สิ่งที่เด็กทำได้ตามลำดับอายุ ลำดับขั้นตอนของเด็ก การจัดกิจกรรมก็ควรดูตามพัฒนาการของเด็กด้วย
-การทำซ้ำๆเป็นการเรียนรู้ของเด็ก เด็กจะชอบทำสิ่งนั้นๆซ้ำๆแล้วเด็กก็จะเกิดการเรียนรู้ตามลำดับขั้นตอนครูก็จะสังเกตได้ว่าเด็กเรียนรู้ได้ถึงไหนแต่ละช่วงอายุ
-การสอนเด็กครูต้องรู้ว่าเด็กรู้อะไรบ้างและต้องมีวิธีการรู้ ( learing stay )
-การนำเสนอควรคำนึงถึงเนื้อหาที่ตนหามาว่าถูกต้องหรือไม่และการนำเสนอควรนำเสนอในท่าทีอย่างไร พูดอย่างไรให้ผู้อื่นเข้าใจในสิ่งที่เรานำเสนอ


  
เพลงที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์

เพลงที่ 1 เพลงนกกระจิบ



เพลงที่ 2 เพลงนับนิ้วมือ



เพลงที่ 3 เพลงจับปู




เพลงที่ 4 เพลงบวก-ลบ


 ครูให้ดัดแปลงเนื้อเพลงบวก-ลบกันเป็นแถว
ตัวอย่างเนื้อเพลงบก-ลบ
            บ้านฉันเลี้ยงควายหกตัว          ลุงให้อีกนะเธอ
มารวมกันนับดีดีซิเออ                         ดูซิเธอรวมกันได้สิบตัว
บ้านฉันเลี้ยงควายสิบตัว                     หายไปสามตัวนะเธอ
ฉันหาควายแล้วไม่เจอ                         ดูซิเออเหลือเพียงแค่เจ็ดตัว



ภาพตัวอย่างคำคล้องจอง


-คำคล้องจองคณิตศาสตร์ เป็นสิ่งที่เด็กท่องจำได้ง่ายสามารถเป็นเทคนิคในการนำเข้าสู่บทเรียนได้
-การจัดการเรียนนั้นควรจัดให้สอดคล้องกับการเรียนของเด็ก มีความสมดุลและเกิดความคิดรวบยอดเกิดกระบวนการคิด
-การสอนร้องเพลงหรือสอนคำคล้องจองไม่ควรที่จะตำหนิเด็กในการสอนเพราะจะทำให้เด็กขาดความเชื่อมั่นในตนเองได้
-ทักษะจะเกิดขึ้นได้เมื่อเด็กได้ลงมือปฎิบัติในสิ่งนั้นๆ




ลักษณะหลักสูตรที่ดี
มีความสมดุลในเรื่องต่อไปนี้
1.เน้นกระบวนการคิดและการพัฒนาความคิดรวบยอด
2.เน้นการเรียนรู้ภาษาและการใช้ภาษาพูดที่สัมพันธ์กับกิจกรรมในชีวิตประจำวันไม่ใช่การท่องจำ
3.แนะนำคำศัพย์ใหม่ๆและสัญลักษณ์อย่างค่อยเป็นค่อยไป
4.สร้างเสริมให้เด็กเกิดความเชื่อมั่นและค้นคว้าข้อมูลเพื่อให้ได้คำตอบ
5.ส่งเสริมให้เด็กเกิดการรับรู้สามารถบรรยายและค้นคว้าเพิ่มเติม/การสรุป
6.เน้นให้เด็กเกิดความคิดรวบยอดมีทักษะคณิตศาสตร์ไปพร้อมๆกัน/ทักษะเกิดขึ้นเมื่อเด็กลงมือกระทำ
7.เปิดให้เด็กได้ค้นคว้าสำรวจปฏิบัติรู้จักตัดสินใจด้วยตนเอง

(วันนี้สรุปบทความ/วิจัย/วีดีโอโทรทัศน์ครูที่นำเสนอในวันนี้ไม่ตรงตามหัวข้อจึงไม่สามารถนำมาสรุปได้และในอาทิตย์หน้าเพื่อนๆจึงขอนำเสนออีกครั้ง)


ทักษะที่ได้รับ
- ทักษะการบูรณาการการเรียนคณิตศาตร์มาใช้ในชีวิตประจำวัน
-ทักษะการบันทึกข้อมูลและการนำเสนอข้อมูล
ทักษะการออกแบบ/การเขียนแผนภูมิ
ทักษะการฟังในการเรียน
-ทักษะการนับจำนวน
ทักษะการเรียนรู้การนำรูปภาพมาใช้ในการปฎิบัติ
ทักษะการร้องเพลง การสอนร้องเพลงและคำคล้องจอง
ทักษะการพูด การตอบคำถามจากอาจารย์

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
            ความรู้ที่ได้รับในวันนี้สามารถนำไปเป็นแนวทางในการเรียนการสอนในอนาคตได้การนำตารางการเรียนมาใช้ในการเรียนการสอนที่เหมาะสม นำทักษะที่ได้จากการเรียนนำมาใช้ในการสอนเด็กสอนเรื่องของเวลาการนับจำนวนสำหรับเด็กได้เหมาะสม การร้องเพลงของเด็กสามารถดัดแปลงเนื้อหาของเพลงได้และฝึกร้องเพลงเพื่อนำไปสอนให้กับเด็ก


ประเมินตนเอง
         วันนี้ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนและทำกิจกรรมอย่างตั้งใจ สนใจเนื้อหาเรื่องที่เรียน จดบันทึกความรู้ในระหว่างเรียนได้เข้าใจ รับฟังความคิดเห็นของอาจารย์ของเพื่อนในการตอบคำถามของอาจารย์ พยายามคิดและหาคำตอบเมื่อมีคำถาม 

ประเมินเพื่อน
         วันนี้ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนและทำกิจกรรมอย่างตั้งใจ  สนใจเนื้อหาเรื่องที่เรียน จดบันทึกความรู้ในระหว่างเรียน วันนี้ทำให้บรรยากาศในการสอนของอาจารย์ต้องติดขัดเพื่อนๆพยายามคิดและหาคำตอบเมื่อมีคำถาม มีการคิดตามเนื้อหาระหว่างที่เรียนและช่วยกันตอบคำถาม

ประเมินอาจารย์
         อาจารย์มีการนำกิจกรรมมาให้ปฏิบัติก่อนเริ่มเนื้อหา อาจารย์ได้ให้คำแนะนำตลอดการเรียนการสอน อธิบายเนื้อหาเรื่องที่เรียนได้ละเอียดและชัดเจน มีการยกตัวอย่างในเนื้อหาที่เรียนทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น คอยรับฟังคำถามหรือเรื่องที่นักศึกษาสงสัยจากเนื้อหาที่เรียนเมื่อจบการเรียนการสอนของวิชาเสมอ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น