พุยพุย

วันเสาร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4 วันพุธที่ 27 มกราคม 2559



บรรยากาศในห้องเรียน

        ก่อนจะเริ่มเข้าสู่การสอนอาจารย์ก็เริ่มเช็คชื่อนักศึกษาคนที่มาก่อนจนถึงคนที่มาเป็นคนสุดท้าย ต่อมาอาจารย์ก็เริ่มสอนโดยให้นักศึกษาเขียนชื่อตัวเองลงไปในกระดาษที่อาจารย์แจกให้คนละ 1 แผ่น โดยการส่งต่อๆกันไปจนครบทุกคน เมื่อเขียนชื่อเสร็จแล้วอาจารย์ก็ให้นักศึกษาทุกคนนำกระดาษชื่อของตนเองไปติดบนกระดานแล้วกลับมานั่งที่เดิมจาก นั้นอาจารย์ก็ได้เริ่มสอนและให้ความรู้พร้อมอธิบายเพิ่มเติมอาจารย์ได้มีกิจกรรมที่ให้ตอบคำถามแบบถาม-ตอบเพื่อนๆต่างช่วยกันคิดและแสดงความคิดเห็นและทำกินกรรมที่ครูให้ทำ

 สาระการเรียนรู้
- สอนในเรื่องหน่วยการเรียน ด้วยการเช็คชื่อก่อนเรียน เพื่อที่จะได้รู้ว่าใครมาเรียนใครไม่มาเรียน โดยการแยกกลุ่มออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่ม "มาเรียน" กับกลุ่ม "กลุ่มไม่มาเรียน"
- จำนวนรายชื่อที่อยู่บนกระดาน เมื่อเกิดการนับ จะทำให้มีทักษะการนับ
การนับเพิ่มขึ้นคือเพิ่มขึ้นทีละ1เป็นพื้นฐานของการบวก การเปรียบเทียบมากกว่าน้อยกว่าเป็นพื้นฐานของการลบการเหลือจำนวนที่เหลือเป็นพื้นฐานของลบ
- ตัวเลข 2 กลุ่ม สามารถแบ่งออกได้หลายกลุ่มจำนวน
- การนับและบอกค่าได้ใช้ตัวเลขฮินดูอารบิกกำกับลำดับที่นักเรียนมาโรงเรียนก่อนและมาทีหลัง 
- การลงมือปฎิบัติของเด็กเป็นวิธีการปฎิบัติเมื่อไหร่ที่เด็กได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเองเอง เด็กก็จะได้ทักษะการเรียนรู้
- การทำตารางการมาเรียนของนักเรียน อยู่ที่การออกแบบของคุณครู เช่น มีการตั้งชื่อกลุ่มเป็นรูป เช่น รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม รูปห้าเหลี่ยม รูปหกเหลี่ยม เด็กก็จะได้ความรู้ในเรื่องของรูปทรงคณิตศาสตร์
- ป้ายชื่อนักเรียน หรือป้ายชื่อต่างๆ ถ้ามีขนาดใหญ่/ขนาดยาว เกินไป เราต้องปรับเปลี่ยนให้มีขนาดเล็กลงหรือทำสัญลักษณ์เพิ่มการออกแบบที่ประหยัดและคุ้มค่าต่อเวลา สามารถออกแบบด้วยการใช้ซองใส แม่เหล็กดูด
การบูรณาการในการออกแบบสื่อ ต้องคำนึงถึง วัตถุประสงค์



เพลงที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์


เพลงที่ 1 เพลง สวัสดียามเช้า





เพลงที่ 2 เพลง สวัสดีคุณครู





เพลงที่ 3 เพลง หนึ่งปีมีสิบสองเดือน


เพลงที่ 4เพลง เข้าแถว


เพลงที่ 5 เพลง จัดแถว
  



เพลงที่ 6 เพลงซ้าย-ขวา




เพลงที่ 7 เพลงขวดห้าใบ





 คำศัพท์ทางคณิตศาสตร์
-ตัวเลข คือ ตัวเลขฮินดูอารบิคและตัวเลขภาษาไทย
-ขนาด คือ ใหญ่ เล็ก หนา บาง กว้าง ลึก
-รูปทรง คือ สามเหลี่ยม สีเหลี่ยมจัตตุรัส สี่เหลื่ยมผืนผ้า วงกลม วงรี ทรงกระบอก
-ที่ตั้ง คือ เหนือ ใต้ เป็นต้น
-ค่าของเงิน คือ บาท สตางค์ การเรียกค่าของเงินแต่ละประเทศ
-ความเร็ว คือ เร็ว ช้า
-อุณหภูมิ คือ ร้อน หยาว อุ่น ชื้น

มาตรฐานการวัดในระบบเมตริก
-คำศัพท์ที่เด็กควรทราบ
-ระบบเมตริกที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
-การวัดเรื่องเวลา


สรุปบทความ  งานวิจัย  วิดีโอโทรทัศน์ครู เลขที่ 4 5 6


สรุปบทความ
เรื่อง  เสริมการเรียนเลขให้ลูกวัยอนุบาล ผศ.ดร.ชลาธิป สมาหิโต ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 
นำเสนอโดย นางสาวเกตุวรินทร์ นามวา
การทบทวน ทำให้การเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น
- ทำให้ผู้ปกครองตระหนักถึงความเข้าใจพัฒนาการของเด็กแต่ละช่วงวัย
- ความต้องการ ด้านพฤติกรรมแทนความรู้สึกสัญลักษณ์ด้วยภาพ (ที่เป็นของจริง) วิธีการลงมือปฏิบัติ ทำให้เกิดการเรียนรู้ และการเปลี่ยนแปลง
 -การทำสิ่งต่างๆ ด้วยประสาทสัมผัสมือและตา เรียกว่า "วิธีการ"(จัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับการเรียนรู้ประสาทสัมผัสมือและตา)



สรุปวิจัย
เรื่อง การศึกษาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับจากการจัดประสบการณ์อาหารพื้นบ้านอีสาน
นำเสนอโดยนางสาวจิรญา พัวโสภิต
สรุป
      เด็กได้รับการเรียนรู้ทางโภชนาการของอาหาร ทำให้เด็กได้รับความรู้ในวิชาคณิตศาสตร์โดยมีการใช้เครื่องมือคณิตศาสตร์มาช่วยในการทำอาหาร เช่น การวัด การตวง และยังได้รู้ในเรื่องของส่วนผสมอาหารด้วย นอกจากเด็กจะเกิดการเรียนรู้แล้ว เด็กยังได้รับความสนุกสนานในการลงมือปฏิบัติจริง ได้ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ > การเปรียบเทียบ > การเรียงลำดับ



สรุปโทรทัศน์ครู
เรื่อง  สอนคณิตศาสตร์ปฐมวัยด้วยนิทาน  (มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ จ.ฉะเชิงเทรา)
นำเสนอโดย นางสาวบงกช เพ่งหาทรัพย์
     ด้วยความมุ่งหวังที่จะสร้างเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย จำเป็นต้องเรียนรู้เทคนิคการสอนคณิตศาสตร์ในแง่มุมใหม่ๆ ที่ไม่ใช่แค่การนับจำนวนและการท่องจำ อ.ธิดารัตน์ จึงมุ่งเน้นการสอนนักศึกษาให้เน้นการนำกิจกรรมไปสอนและปลูกฝังความรักคณิตศาสตร์ให้กับเด็กๆ โดยเฉพาะการใช้ "นิทาน"เป็นสื่อช่วยสอน เพราะเด็กปฐมวัยทุกคนชอบนิทานอยู่แล้ว ถ้าครูนำนิทานมาบูรณาการสอนเด็กๆจะทำให้เข้ารู้สึกสนุกและมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ต่อไป โดยการเล่านิทานลูกหมู 3 ตัวเด็กจะได้ทราบถึงการเปรียบเทียบขนาด น้ำหนัก และขนาด



 สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
มาตรฐาน ค.ป.1.1 เข้าใจถึงความหลากหลายของการเเสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง
จำนวน
-การใช้จำนวนบอกปริมาณที่ได้จากการนับ
-การอ่านตัวเลขฮินดูอารบิก และตัวเลขไทย
-การเขียนตัวเลขฮินดูอารบิกแสดงจำนวน
-การเปรียบเทียบจำนวน
-การเรียงลำดับจำนวน
การรวมและการแบ่งกลุ่ม
-ความหมายของการรวม
-การรวมสิ่งต่างๆสองกลุ่มที่มีผลรวมไม่เกิน10
-ความหมายของการแยก
-การแยกกลุ่มย่อยออกจากกลุ่มใหญ่ที่มีจำนวนไม่เกิ10
สาระที่2 การวัด
มาตรฐาน ค.ป.2.1 เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว ปริมาตร น้ำหนัก เงิน เวลา
เงิน
-ชนิดเเละค่าของเงิน เหรียญและธนบัตร
เวลา
-ช่วงเวลาในแต่ละวัน
-ชื่อวันในสัปดาห์
 


สาระที่3 เรขาคณิต

มาตรฐาน ค.ป.3.1 รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่งทิศทางและระยะทาง
มาตรฐาน ค.ป.3.2 จำเเนกรูปเรขาคณิตและเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกิดจาดกาารกระทำ


ทักษะที่ได้รับ
-การคิดวิเคาะห์อย่างมีเหตุผล
-การออกแบบและการคิดสร้างสรรค์
-การใช้ตัวเลขแสดงจำนวนการมาเรียนของเด็ก
-การนับจำนวน
-การสร้างแรงจูงใจที่ทำให้เด็กอยากมาเช้า
- ทักษะด้านการคิดวิเคราะห์
- ทักษะด้านการเขียน
- ทักษะด้านการออกแบบ
- ทักษะด้านการฟัง
- ทักษะด้านการเรียนรู้
- ทักษะด้านการร้องเพลง
- ทักษะด้านการพูด การตอบคำถามจากอาจารย์

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
ความรู้ที่ได้รับในวันนี้สามารถนำไปเป็นแนวทางในการเรียนการสอนในอนาคตได้ และยังมี
วิธีการออกแบบสื่อ เราสามารถนำไปบูรณาการ การประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ ที่สำคัญเราต้องคำนึงถึงวัตถุประสงค์  ใช้อย่างประหยัดและคุ้มค่าต่อเวลาด้วย

เทคนิคการสอนของอาจารย์
- อาจารย์สอนแบบมีหลักการให้เหตุผล และสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม
- อาจารย์สอนโดยตั้งประโยคคำถามมาและให้นักศึกษาช่วยกันคิดวิเคราะห์ และสามารถแสดงความคิดเห็นได้ทุกคน 


ประเมินตนเอง
วันนี้ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนและทำกิจกรรมอย่างตั้งใจ สนใจเนื้อหาเรื่องที่เรียน จดบันทึกความรู้ในระหว่างเรียนได้เข้าใจ รับฟังความคิดเห็นของเพื่อนในการตอบคำถามของอาจารย์ พยายามคิดและหาคำตอบเมื่อมีคำถาม 

ประเมินเพื่อน
วันนี้ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนและทำกิจกรรมอย่างตั้งใจ  สนใจเนื้อหาเรื่องที่เรียน จดบันทึกความรู้ในระหว่างเรียน รับฟังความคิดเห็นของเพื่อนในการตอบคำถามของอาจารย์ได้เป็นอย่างดี พยายามคิดและหาคำตอบเมื่อมีคำถาม มีการคิดตามเนื้อหาระหว่างที่เรียนและช่วยกันตอบคำถาม

ประเมินอาจารย์

อาจารย์มีการนำกิจกรรมมาให้ปฏิบัติก่อนเริ่มเนื้อหาและสอนแบบสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมในการเป็นครูว่าควรตระหนักถึงการเป็นครูที่ดีและมีคุณภาพ ควรเตรียมความพร้อมทั้งกายและใจ มีความเชื่อมั่นในวิชาชีพ ทำให้รู้สึกมีแรงบันดาลใจในการเรียนมากขึ้น อาจารย์ได้ให้คำแนะนำตลอดการเรียนการสอน อธิบายเนื้อหาเรื่องที่เรียนได้ละเอียดและชัดเจน มีการยกตัวอย่างในเนื้อหาที่เรียนทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น คอยรับฟังคำถามหรือเรื่องที่นักศึกษาสงสัยจากเนื้อหาที่เรียนเมื่อจบการเรียนการสอนของวิชาเสมอ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น