พุยพุย

วันเสาร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4 วันพุธที่ 27 มกราคม 2559



บรรยากาศในห้องเรียน

        ก่อนจะเริ่มเข้าสู่การสอนอาจารย์ก็เริ่มเช็คชื่อนักศึกษาคนที่มาก่อนจนถึงคนที่มาเป็นคนสุดท้าย ต่อมาอาจารย์ก็เริ่มสอนโดยให้นักศึกษาเขียนชื่อตัวเองลงไปในกระดาษที่อาจารย์แจกให้คนละ 1 แผ่น โดยการส่งต่อๆกันไปจนครบทุกคน เมื่อเขียนชื่อเสร็จแล้วอาจารย์ก็ให้นักศึกษาทุกคนนำกระดาษชื่อของตนเองไปติดบนกระดานแล้วกลับมานั่งที่เดิมจาก นั้นอาจารย์ก็ได้เริ่มสอนและให้ความรู้พร้อมอธิบายเพิ่มเติมอาจารย์ได้มีกิจกรรมที่ให้ตอบคำถามแบบถาม-ตอบเพื่อนๆต่างช่วยกันคิดและแสดงความคิดเห็นและทำกินกรรมที่ครูให้ทำ

 สาระการเรียนรู้
- สอนในเรื่องหน่วยการเรียน ด้วยการเช็คชื่อก่อนเรียน เพื่อที่จะได้รู้ว่าใครมาเรียนใครไม่มาเรียน โดยการแยกกลุ่มออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่ม "มาเรียน" กับกลุ่ม "กลุ่มไม่มาเรียน"
- จำนวนรายชื่อที่อยู่บนกระดาน เมื่อเกิดการนับ จะทำให้มีทักษะการนับ
การนับเพิ่มขึ้นคือเพิ่มขึ้นทีละ1เป็นพื้นฐานของการบวก การเปรียบเทียบมากกว่าน้อยกว่าเป็นพื้นฐานของการลบการเหลือจำนวนที่เหลือเป็นพื้นฐานของลบ
- ตัวเลข 2 กลุ่ม สามารถแบ่งออกได้หลายกลุ่มจำนวน
- การนับและบอกค่าได้ใช้ตัวเลขฮินดูอารบิกกำกับลำดับที่นักเรียนมาโรงเรียนก่อนและมาทีหลัง 
- การลงมือปฎิบัติของเด็กเป็นวิธีการปฎิบัติเมื่อไหร่ที่เด็กได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเองเอง เด็กก็จะได้ทักษะการเรียนรู้
- การทำตารางการมาเรียนของนักเรียน อยู่ที่การออกแบบของคุณครู เช่น มีการตั้งชื่อกลุ่มเป็นรูป เช่น รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม รูปห้าเหลี่ยม รูปหกเหลี่ยม เด็กก็จะได้ความรู้ในเรื่องของรูปทรงคณิตศาสตร์
- ป้ายชื่อนักเรียน หรือป้ายชื่อต่างๆ ถ้ามีขนาดใหญ่/ขนาดยาว เกินไป เราต้องปรับเปลี่ยนให้มีขนาดเล็กลงหรือทำสัญลักษณ์เพิ่มการออกแบบที่ประหยัดและคุ้มค่าต่อเวลา สามารถออกแบบด้วยการใช้ซองใส แม่เหล็กดูด
การบูรณาการในการออกแบบสื่อ ต้องคำนึงถึง วัตถุประสงค์



เพลงที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์


เพลงที่ 1 เพลง สวัสดียามเช้า





เพลงที่ 2 เพลง สวัสดีคุณครู





เพลงที่ 3 เพลง หนึ่งปีมีสิบสองเดือน


เพลงที่ 4เพลง เข้าแถว


เพลงที่ 5 เพลง จัดแถว
  



เพลงที่ 6 เพลงซ้าย-ขวา




เพลงที่ 7 เพลงขวดห้าใบ





 คำศัพท์ทางคณิตศาสตร์
-ตัวเลข คือ ตัวเลขฮินดูอารบิคและตัวเลขภาษาไทย
-ขนาด คือ ใหญ่ เล็ก หนา บาง กว้าง ลึก
-รูปทรง คือ สามเหลี่ยม สีเหลี่ยมจัตตุรัส สี่เหลื่ยมผืนผ้า วงกลม วงรี ทรงกระบอก
-ที่ตั้ง คือ เหนือ ใต้ เป็นต้น
-ค่าของเงิน คือ บาท สตางค์ การเรียกค่าของเงินแต่ละประเทศ
-ความเร็ว คือ เร็ว ช้า
-อุณหภูมิ คือ ร้อน หยาว อุ่น ชื้น

มาตรฐานการวัดในระบบเมตริก
-คำศัพท์ที่เด็กควรทราบ
-ระบบเมตริกที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
-การวัดเรื่องเวลา


สรุปบทความ  งานวิจัย  วิดีโอโทรทัศน์ครู เลขที่ 4 5 6


สรุปบทความ
เรื่อง  เสริมการเรียนเลขให้ลูกวัยอนุบาล ผศ.ดร.ชลาธิป สมาหิโต ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 
นำเสนอโดย นางสาวเกตุวรินทร์ นามวา
การทบทวน ทำให้การเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น
- ทำให้ผู้ปกครองตระหนักถึงความเข้าใจพัฒนาการของเด็กแต่ละช่วงวัย
- ความต้องการ ด้านพฤติกรรมแทนความรู้สึกสัญลักษณ์ด้วยภาพ (ที่เป็นของจริง) วิธีการลงมือปฏิบัติ ทำให้เกิดการเรียนรู้ และการเปลี่ยนแปลง
 -การทำสิ่งต่างๆ ด้วยประสาทสัมผัสมือและตา เรียกว่า "วิธีการ"(จัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับการเรียนรู้ประสาทสัมผัสมือและตา)



สรุปวิจัย
เรื่อง การศึกษาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับจากการจัดประสบการณ์อาหารพื้นบ้านอีสาน
นำเสนอโดยนางสาวจิรญา พัวโสภิต
สรุป
      เด็กได้รับการเรียนรู้ทางโภชนาการของอาหาร ทำให้เด็กได้รับความรู้ในวิชาคณิตศาสตร์โดยมีการใช้เครื่องมือคณิตศาสตร์มาช่วยในการทำอาหาร เช่น การวัด การตวง และยังได้รู้ในเรื่องของส่วนผสมอาหารด้วย นอกจากเด็กจะเกิดการเรียนรู้แล้ว เด็กยังได้รับความสนุกสนานในการลงมือปฏิบัติจริง ได้ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ > การเปรียบเทียบ > การเรียงลำดับ



สรุปโทรทัศน์ครู
เรื่อง  สอนคณิตศาสตร์ปฐมวัยด้วยนิทาน  (มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ จ.ฉะเชิงเทรา)
นำเสนอโดย นางสาวบงกช เพ่งหาทรัพย์
     ด้วยความมุ่งหวังที่จะสร้างเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย จำเป็นต้องเรียนรู้เทคนิคการสอนคณิตศาสตร์ในแง่มุมใหม่ๆ ที่ไม่ใช่แค่การนับจำนวนและการท่องจำ อ.ธิดารัตน์ จึงมุ่งเน้นการสอนนักศึกษาให้เน้นการนำกิจกรรมไปสอนและปลูกฝังความรักคณิตศาสตร์ให้กับเด็กๆ โดยเฉพาะการใช้ "นิทาน"เป็นสื่อช่วยสอน เพราะเด็กปฐมวัยทุกคนชอบนิทานอยู่แล้ว ถ้าครูนำนิทานมาบูรณาการสอนเด็กๆจะทำให้เข้ารู้สึกสนุกและมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ต่อไป โดยการเล่านิทานลูกหมู 3 ตัวเด็กจะได้ทราบถึงการเปรียบเทียบขนาด น้ำหนัก และขนาด



 สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
มาตรฐาน ค.ป.1.1 เข้าใจถึงความหลากหลายของการเเสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง
จำนวน
-การใช้จำนวนบอกปริมาณที่ได้จากการนับ
-การอ่านตัวเลขฮินดูอารบิก และตัวเลขไทย
-การเขียนตัวเลขฮินดูอารบิกแสดงจำนวน
-การเปรียบเทียบจำนวน
-การเรียงลำดับจำนวน
การรวมและการแบ่งกลุ่ม
-ความหมายของการรวม
-การรวมสิ่งต่างๆสองกลุ่มที่มีผลรวมไม่เกิน10
-ความหมายของการแยก
-การแยกกลุ่มย่อยออกจากกลุ่มใหญ่ที่มีจำนวนไม่เกิ10
สาระที่2 การวัด
มาตรฐาน ค.ป.2.1 เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว ปริมาตร น้ำหนัก เงิน เวลา
เงิน
-ชนิดเเละค่าของเงิน เหรียญและธนบัตร
เวลา
-ช่วงเวลาในแต่ละวัน
-ชื่อวันในสัปดาห์
 


สาระที่3 เรขาคณิต

มาตรฐาน ค.ป.3.1 รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่งทิศทางและระยะทาง
มาตรฐาน ค.ป.3.2 จำเเนกรูปเรขาคณิตและเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกิดจาดกาารกระทำ


ทักษะที่ได้รับ
-การคิดวิเคาะห์อย่างมีเหตุผล
-การออกแบบและการคิดสร้างสรรค์
-การใช้ตัวเลขแสดงจำนวนการมาเรียนของเด็ก
-การนับจำนวน
-การสร้างแรงจูงใจที่ทำให้เด็กอยากมาเช้า
- ทักษะด้านการคิดวิเคราะห์
- ทักษะด้านการเขียน
- ทักษะด้านการออกแบบ
- ทักษะด้านการฟัง
- ทักษะด้านการเรียนรู้
- ทักษะด้านการร้องเพลง
- ทักษะด้านการพูด การตอบคำถามจากอาจารย์

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
ความรู้ที่ได้รับในวันนี้สามารถนำไปเป็นแนวทางในการเรียนการสอนในอนาคตได้ และยังมี
วิธีการออกแบบสื่อ เราสามารถนำไปบูรณาการ การประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ ที่สำคัญเราต้องคำนึงถึงวัตถุประสงค์  ใช้อย่างประหยัดและคุ้มค่าต่อเวลาด้วย

เทคนิคการสอนของอาจารย์
- อาจารย์สอนแบบมีหลักการให้เหตุผล และสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม
- อาจารย์สอนโดยตั้งประโยคคำถามมาและให้นักศึกษาช่วยกันคิดวิเคราะห์ และสามารถแสดงความคิดเห็นได้ทุกคน 


ประเมินตนเอง
วันนี้ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนและทำกิจกรรมอย่างตั้งใจ สนใจเนื้อหาเรื่องที่เรียน จดบันทึกความรู้ในระหว่างเรียนได้เข้าใจ รับฟังความคิดเห็นของเพื่อนในการตอบคำถามของอาจารย์ พยายามคิดและหาคำตอบเมื่อมีคำถาม 

ประเมินเพื่อน
วันนี้ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนและทำกิจกรรมอย่างตั้งใจ  สนใจเนื้อหาเรื่องที่เรียน จดบันทึกความรู้ในระหว่างเรียน รับฟังความคิดเห็นของเพื่อนในการตอบคำถามของอาจารย์ได้เป็นอย่างดี พยายามคิดและหาคำตอบเมื่อมีคำถาม มีการคิดตามเนื้อหาระหว่างที่เรียนและช่วยกันตอบคำถาม

ประเมินอาจารย์

อาจารย์มีการนำกิจกรรมมาให้ปฏิบัติก่อนเริ่มเนื้อหาและสอนแบบสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมในการเป็นครูว่าควรตระหนักถึงการเป็นครูที่ดีและมีคุณภาพ ควรเตรียมความพร้อมทั้งกายและใจ มีความเชื่อมั่นในวิชาชีพ ทำให้รู้สึกมีแรงบันดาลใจในการเรียนมากขึ้น อาจารย์ได้ให้คำแนะนำตลอดการเรียนการสอน อธิบายเนื้อหาเรื่องที่เรียนได้ละเอียดและชัดเจน มีการยกตัวอย่างในเนื้อหาที่เรียนทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น คอยรับฟังคำถามหรือเรื่องที่นักศึกษาสงสัยจากเนื้อหาที่เรียนเมื่อจบการเรียนการสอนของวิชาเสมอ



วันเสาร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3 วันพุธที่ 20 มกราคม 2559




บรรยากาศในห้องเรียน

      วันนี้อาจารย์ได้แจกกระดาษให้นักศึกษาคนละ 1 แผ่น อาจารย์จะให้ทำกิจกรรมอะไรต่อ เมื่ออาจารย์เริ่มกิจกรรม ทุกคนจะตั้งใจฟังปฏิบัติตามอาจารย์ และร่วมแสดงความคิดเห็น มีความสนใจในการเรียนและการทำกิจกรรมตลอด เป็นอีกวันที่มีบรรยากาศในการเรียนที่ดีค่ะ

ความรู้ที่ได้รับ
การแบ่งกระดาษ 4 ส่วน ในแนวต่างๆให้เท่ากันและการฉีกกระดาษด้วยมือเปล่าได้รู้วิธีการแบ่งกระดาษในแนวต่างๆ ทั้งแนวตั้ง แนวนอน ให้ได้ 4 ส่วนและเท่ากัน และครูต้องสามารถฉีกกระดาษได้ด้วยมือเปล่าอย่างสวยงาม เมื่อนับกระดาษไปแปะรวมกันบนกระดาน ในการนับกระดาษนั้นถ้าอยากนับให้ง่ายต้องวางให้เป็นแถวและเป็นระเบียบ ในการทำกิจกรรมนั้นควรมีหลากหลายวิธีในการทำเพราะจะเป็นประสบการณ์สำคัญในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์และนำไปใช้ชีวิตประจำวันได้ 
ประสบการณ์จากการเรียนวิชาคณิตศาสตร์วิธีการใช้คณิตศาสตร์ในหลากหลายวิธีการคิดหลากหลาย การปรับตัว และการแก้ไขปัญหาของตนเองตามสถานการณ์ต่างๆ ควรมีหลากหลายเส้นทางเหมือนคณิตศาสตร์ ควรมีหลากหลายวิธีในการเรียน คิดในรูปแบบใหม่อยู่เสมอ
การตระหนักถึงการเป็นครูที่ดี คำขวัญวันครู การมีเป้าหมายในการใช้ชีวิตประจำวันได้รู้ว่าการสอนเด็กนั้น ครูต้องตระหนักถึงความเป็นครูที่ดีเสมอ เป็นครูที่มีคุณธรรมและจริยธรรม เป็นการสร้างแรงบันดาลใจและต้องเตรียมตัวให้มีคุณภาพ มีการเตรียมพร้อมทั้งกายและใจ มีความเชื่อมั่นในวิชาชีพครู
- การใช้ชีวิตประจำวันนั้นควรตั้งเป้่าหมายไว้เสมอ ว่าควรดำเนินชีวิตไปในทางแบบใดให้มีคุณภาพ
- รู้ว่าการเป็นครูนั้นควรนึกถึงคำขวัญวันครูเสมอ คือ " อนาคตก้าวไกล ด้วยครูดีมีคุณภาพ "
- รู้จักการออกแบบการวางตัวหนังสือให้เหมาะสมกับพื้นที่ในกระดาษ รู้จักจังหวะในการออกแบบ ต้องรู้ว่าบางจังหวะต้องมีอิสระ บางจังหวะต้องมีระเบียบวินัย การเขียนนั้นต้องเขียนจากซ้ายไปขวา และในการคาดการณ์ของตนเองในการทำควรอยู่ในขอบเขตที่กำหนด
- การนำเสนอหน้าชั้นเรียนควรอธิบายให้ชัดเจนและจับใจความสำคัญว่าใคร ,ทำอะไรและอย่างไร ให้เข้าใจและไม่ควรอธิบายเร็วเกินไป ควรมีการยกตัวอย่างและวิธีการที่สามารถเข้าใจได้ละเอียด
- ได้รู้ว่าการที่เด็กชอบทำอะไรนั้นเพราะเด็กมีวิธีการ รูปแบบนั้นโดยการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 กับวัตถุในการเรียนรู้ และจังเป็นวิธีการเรียนรู้ของเด็ก
เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์ สาระมาตรฐานการเรียนรู้และคุณภาพของเด็กเมื่อจบการเรียนรู้ได้รู้ว่าเด็กปฐมวัยเรียนคณิตศตร์เพื่อเตรียมความพร้อมต่างๆทางคณิตศาสตร์ เป็นพื้นฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในชั้นประถมศึกษา อนุบาลนั้นจะเป็นการเตรียมความพร้อมทางประสบการณ์วิชาคณิตศาสตร์

สาระมาตรฐานการเรียนรู้
1. จำนวนการดำนเนินการ
2. การวัด
3. เรขาคณิต
4. พีชคณิต
5. การคิดวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
6. ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์

คุณภาพของเด็กเมื่อจบการเรียนรู้
1. มีความคิดเชิงคณิตศาสตร์ ( Mathematical Thinking )
- จำนวน 1 - 20 เด็กรู้จักจำนวนตัวเลข
- เข้าใจหลักการนับ เวลานับต้องนับเพิ่มขึ้นหรือลดลง
- รู้จักตัวเลขฮินดูอารบิคและตัวเลขไทย
- รู้ค่าของจำนวน
- เปรียบเทียบและเรียงลำดับ
- การรวมและการแยกกลุ่ม การรวมจะเป็นการบวกส่วนการแยกกลุ่มจะเป็นการลบ


2. มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานความยาว  น้ำหนัก  ปริมาตร  เงินและเวลา
- รู้จักเงินเหรียญและธนบัตร
- เปรียบเทียบเรียงลำดับ วัดความยาว , น้ำหนัก , ปริมาตร
- เข้าใจเวลาและคำที่ใช้บอกเวลา


3. มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเรขาคณิต
- ตำแหน่ง , ทิศทางและระยะทาง
- รูปทรงเรขาคณิต มิติและรูปเรขาคณิต มิติ


4. มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานแบบรูปของรูปที่มีรูปร่างขนาดสีที่สัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง
5. มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูล นำเสนอข้อมูลรูปแบบแผนภูมิอย่างง่าย
6. มีทักษะกระบวนการคณิตศาสตร์ที่จำเป็น


สรุปบทความ วิจัย และวีดีโอโทรทัศน์ครูที่นำเสนอในวันนี้

นางสาวไพจิตร ฉันทเกษมคุณ (เลขที่ 1)
บทความเรื่อง เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์
การเรียนรู้คณิตศาสตร์ระดับปฐมวัย มุ่งหวังให้เด็กทุกคนได้เตรียมความพร้อมด้านต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์ อันเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา โดยกำหนดสาระหลักที่จำเป็นสำหรับเด็ก ได้แก่ จำนวนและการดำเนินการ จำนวน การรวมกลุ่ม และการแยกกลุ่ม การวัด ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา เรขาคณิต ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง รูปเรขาคณิตสามมิติและรูปเรขาคณิตสองมิติ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็ก ต้องคำนึงถึงขั้นตอนการเรียนรู้ของเด็ก ได้แก่ ทบทวบความรู้พื้นฐาน สอนเนื้อหาใหม่ สรุปสาระสำคัญทางคณิตศาสตร์ ฝึกทักษะหรือฝึกปฏิบัติ นำความรู้ไปใช้ วัดและประเมินผล การเรียนรู้โดยให้เด็กมีส่วนร่วมรู้ ร่วมคิด ร่วมทำ ควรคำนึงถึงความสนใจและความแตกต่างของเด็กแต่ละคน นอกจากนั้น เทคนิคการจูงใจให้เด็กๆ สนุกกับการเรียนคณิตศาสตร์อีกอย่าง คือ ให้เด็กได้เรียนรู้และค้นพบสิ่งท้าทาย ด้วยกิจกรรมและเกมที่ช่วยฝึกทักษะคณิตศาสตร์ให้เด็กได้ร่วมสนุกพร้อมสอดแทรกเนื้อหาความรู้เข้าไป



นางสาวภาวิดา บุญช่วย (เลขที่ 2)
วิจัยเรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่ได้จากการสาน
โดยมีขั้นตอนดังนี้
1. ทำการประเมินทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ของเด็กก่อนทำการทดลองจากนั้นทำมาตรวจคะแนนตามเกณฑ์และเก็บคะแนนเป็นหลักฐาน
2.ดำเนินการทดลองในกิจกรรมการสาน 8 สัปดาห์ 4 วัน จำนาน 32 ครั้ง วันละ 30-50 นาที
3.เมื่อสิ้นสุดการทดลองผุ้วิจัยประเมินทักษะพื้นฐานชองเ็กหลังการทดลอง
การสังเกตที่ได้รับจากการวิจัย
-สัปดาห์แรกเด็กต้องการการปรับตัวเพื่อเตรียมความพร้อมจากการทำกิจกรรมสาน แต่เป็นกิจกรรมที่แปลกใหม่ จึงต้องใช้เวลา ในการอธิบายวิธีการทำ
-ขณะที่ทำกิจกรรมเด็กมีความสนใจและกระตือรือร้นมาก
-เด็กเรียนรู้สื่อใหม่และอุปกรณ์ที่หลากหลาย
- กิจกรรมการสานทำให้เด็กสามารถเรียนรู้ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสพื้นฐานตร์ได้ด้วยตนเอง และมีพัฒนาการด้านอื่นอีกด้วย เช้น ได้ใช้กล้ามเนื้อมือ และตาสัมพัธ์กัน
สรุปผล
1.ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยรวมหลังทำกิจกรรมสานสูงกว่าก่อนทำกิจกรรม
2.เด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ก่อนทำการทดลองโดยรวมและรานด้านทุกด้าน พอใช้ แต่หลังจัดกิจกรรมสานเด็กมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยรวมและรายด้านทุกด้าน ในระดับดี



นางสาวสิริกัลยา บุญทนแสนทวีสุข (เลขที่ 3)
วีดีโอโทรทัศน์ครู เรื่องสาระความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กิจกรรมคณิตปฐมวัยจากธรรมชาติรอบตัว
มี 6 กิจกรรม
1. กิจกรรม : ปูมีขา เป็นกิจกรรมที่ทำให้เด็กรู้ว่าปูมีขา 8 ขา และก้ามปูอีก 2 ก้าม ซึ่งให้เด็กเปรียบเทียบ เรียนรู้จากการนับนิ้วมือ ให้มิือเป็นเหมือนขาของปู
2. กิจกรรม : ต้นไม้ใกล้ตัว พาเด็กไปเรียนที่ใต้ต้นไม้ นอกห้องเรียน ซึ่งจะนำใบไม้ร่วงมาเปรียบเทียบ มานับจำนวน มากกว่าน้อยกว่า โดยที่ครูจะเป็นคนกำหนดโจทย์ให้
3. กิจกรรม : ใบไม้แสนสวย เช่น การจัดกิจกรรมจากการร้อยใบไม้ เริ่มจากใบไม้กลม หยัก เหลี่ยม รี หรือกิจกรรมการพิมพ์ภาพจากใบไม้ให้เท่าจำนวนตัวเลขที่ครูกำหนดมาให้ หรือกิจกรรมการฉีกปะใบไม้ ลงในตัวเลขที่ครูพิมพ์ไว้ให้ โดยให้เด็กเลือกเองตามใจชอบ
4. กิจกรรม : มุมคณิต การนำสิ่งต่าง ๆ ในครัวเรือน เช่น พืชผัก ไข่ เมล็ดพืช ซึ่งเป็นสิ่งที่เด็กรู้จักและคุ้นเคย โดยมีบัตรภาพที่กำหนดตัวเลขไว้ ให้เด็กเลือกสิ่งใดก็ได้ มาวางให้ตรงกับจำนวนในบัตรเลขนั้น
5. กิจกรรม : เกมกระต่ายเก็บของ เป็นการเก็บของโดยการจัดอันดับ 5 สิ่ง คือ ก้อนหิน ไม้บล็อก ตะกร้า โดยวิ่งไปเก็บของตามลำดับใส่ตะกร้าให้ครบ ซึ่งทำให้เกิดการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ได้
6. กิจกรรม : เกมก้อนหินหรรษา เป็นการนำก้อนหิน 2 สี คือ สีขาวกับสีแดง มาเรียงตามจำนวนในบัตรภาพหรือบัตรตัวเลข
ประโยชน์จากการทำกิจกรรม
ทำให้เด็กเรียนรู้การใช้เงิน รู้จักเบอร์โทรศัพท์ของผู้ปกครอง ป้ายทะเบียนรถ ตัวเลขต่าง ๆ เป็นต้น ที่สำคัญคือ เด็กมีความสุขในการทำกิจกรรมและการเรียนรู้


ทักษะที่ได้จากการเรียน
1.ทักษะการคิดการแบ่งกระดาษด้วยหลากหลายวิธี
2.ทักษะการนำประสบการณ์จากการใช้ชีวิตประจำวันมาใช้ในการเรียนคณิตศาสตร์
3.ทักษะการเขียนเพื่อสรุปการเรียนรู้
4.ทักษะการหาเป้าหมายในชีวิตของตนเอง
5.ทักษะการคิดตอบคำถามจากปัญหาที่อาจารย์ได้ตั้งคำถาม การปฏิบัติกิจกรรมให้ตรงตามขอบเขตที่อาจารย์กำหนด
6.ทักษะการฟังในการเรียนทักษะการนำเสนอหน้าชั้นเรียน

7.ทักษะในการพูดตอบคำถาม การค้นหาคำตอบด้วยวิธีใหม่ๆ
8.ทักษะการปฏิบัติกิจกรรมให้ตรงตามขอบเขตที่อาจารย์กำหนด

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
       ในอนาคตการที่เราได้เป็นครูควรรู้จักการนำประสบการณ์ในชีวิตประจำวันมาใช้ในการเรียนคณิตศาสตร์มีการกำหนดเป้าในชีวิตของตนเอง ปฏิบัติกิจกรรมให้อยู่ในขอบเขตที่อาจารย์กำหนดและตระหนักถึงการเป็นครูที่ดี ควรมีคุณธรรม จริยธรรมและมีการเตรียมความพร้อมและทำให้ตนเองมีคุณภาพในการเป็นครู เชื่อมั่นในวิชาชีพ การนำเสนอหน้าชั้นเรียนให้เข้าใจได้ชัดเจนและสามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนได้

ประเมินตนเอง
วันนี้ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนและทำกิจกรรมอย่างตั้งใจ สนใจเนื้อหาเรื่องที่เรียน จดบันทึกความรู้ในระหว่างเรียนได้เข้าใจ รับฟังความคิดเห็นของเพื่อนในการตอบคำถามของอาจารย์ พยายามคิดและหาคำตอบเมื่อมีคำถาม 

ประเมินเพื่อน
วันนี้ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนและทำกิจกรรมอย่างตั้งใจ  สนใจเนื้อหาเรื่องที่เรียน จดบันทึกความรู้ในระหว่างเรียน รับฟังความคิดเห็นของเพื่อนในการตอบคำถามของอาจารย์ได้เป็นอย่างดี พยายามคิดและหาคำตอบเมื่อมีคำถาม มีการคิดตามเนื้อหาระหว่างที่เรียนและช่วยกันตอบคำถาม

ประเมินอาจารย์
อาจารย์มีการนำกิจกรรมมาให้ปฏิบัติก่อนเริ่มเนื้อหาและสอนแบบสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมในการเป็นครูว่าควรตระหนักถึงการเป็นครูที่ดีและมีคุณภาพ ควรเตรียมความพร้อมทั้งกายและใจ มีความเชื่อมั่นในวิชาชีพ ทำให้รู้สึกมีแรงบันดาลใจในการเรียนมากขึ้น อาจารย์ได้ให้คำแนะนำตลอดการเรียนการสอน อธิบายเนื้อหาเรื่องที่เรียนได้ละเอียดและชัดเจน มีการยกตัวอย่างในเนื้อหาที่เรียนทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น คอยรับฟังคำถามหรือเรื่องที่นักศึกษาสงสัยจากเนื้อหาที่เรียนเมื่อจบการเรียนการสอนของวิชาเสมอ