พุยพุย

วันจันทร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2559


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14 วันจันทร์ ที่ 25 เมษายน 2559 (เรียนชดเชย)



บรรยากาศการเรียน

             วันนี้มาเรียนที่ตึก 4 ตึกคณะศึกษาศาสตร์ มีการนั่งแบ่งกลุ่มตามที่จัดไว้เหมือนเดิม วันนี้การนั่งหันหน้าปรึกษาพูดคุยกันในกลุ่มในเรื่องการเขียนแผนจัดประสบการณ์
          เริ่มต้นด้วยอาจารย์ขอดูแผนวันศุกร์ของแต่ละกลุ่ม และให้คำเเนะนำเพิ่มเติม และอาจารย์เเจกเอกสารมาหนึ่งชุดสำหรับ 1 กลุ่ม คือ แผนการจัดประสบการณ์ โดยให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มเขียนข้อมูลหน่วยของเราลงไป โดยอาจารย์ได้ให้คำเเนะนำในแต่ละขั้นตอน

สาระ

กิจกรรมการเรียนการสอน
(1).แผนกรจัดประสบการณ์

1.วัตถุประสงค์ เป้าหมาย ผลที่ได้จากจุดประสงค์สรุปสิ่งที่เด็กได้

2.สาระที่ควรเรียนรู้ สิ่งต่างๆรอบตัว

3.เนื้อหา

4.แนวคิด เป็นตัวสรุป มโนทัศน์/สังกัป ตัวขยายในเรื่องหนาวยนั้นๆ
-ของใช้เป็นของที่ไม่มีชีวิตเป็นของที่ใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน ของเล่นเป็นของสมมุติที่ใช้เพื่อความเพลิดเพลินมีวิธีเล่นและเก็บรักษาที่แตกต่างกัน
-ผลไม้เป็นสิ่งมีชีวิตที่เติบโตได้จากดอกกลายเป็นผลที่สามารถรับประทานได้และยังนำไปใช้ได้หลากหลายทางเพื่อให้ผลไม้มันรับประทานได้นานเช่นการถนอมเป็นต้น
-กล้วยเป็นพืชล้มลุกเป็นสิ่งมีชีวิตซึ่งมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันมีลักษณะเช่น สี ขนาด หรือส่วนประกอบและมีประโยชน์หลากหลายทำได้ทั้งอาหารและของหวาน
-ยานพาหนะเป็นสิ่งไม่มีชีวิตที่อยู่รอบตัวเราเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นแต่ละชนิดมีชื่อเรียกที่แตกต่างกัน เช่นรูปร่าง การใช้เชื้อเพลิง อาจเหมือนหรือแตกต่างกันมีทั้งทษและข้อควรระวัง

5.ประสบการณ์สำคัญ /ด้านร่างกาย /ตัวชี้วัด
-ร่างกาย ประสานสัมพันธ์กันระหว่างกล้านเนื้อการเคลื่อนไหว
-อารมณ์ การแสดงออกทางความรู้สึกเด็ก รับรู้ความรู้สึกของผู้อื่น
-สังคมการมีปฎิสัมพันธ์การทำงานร่วมกับผู้อื่น รู้จักตนเอง เข้าใจตัวเอง ช่วยเหลือตัวเองละมีคุณธรรมจริยธรรม
-สติปัญญา ภาษา การแก้ปัญหา การคิด การสังเกตุ การเปรียบเทียบ การคิดสร้างสรรค์บ่งบอกรายวิชาในเรื่องของคณิตศาสตร์ละวิทยาศาสตร์

กรอบพัฒนาการและกิจกรรม (5ขวบ) จัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมใช้ในการประเมินหาได้จากหนังสือหลักสูตร
-ร่างกาย
-อารมณ์
-สังคม
-สติปัญญา

(2.)หน่วยเรื่อง (Webบูรณาการทักษะรายวิชา)
-ภาษา พูดโต้ตอบเล่าประสบการเดิม อ่าน เล่านิทาน อ่านคำคล้องจอง ฟังนิทาน ฟังเพลง
-สังคม การทำกิจกรรมที่ทำเป็นกลุ่ม
-กิจกรรมสร้างสรรค์ศิลปะ เช่นประดิษฐ์รถจากของเหลือใช้ได้จากรูปทรงที่ส่วนประกอบต่างๆจากสาวนย่อยๆมารวมกันเป็นองค์ประกอบใหญ่
-วาดรูปเรขาคณิตให้เด็กวาดต่อเติมเป็นยานพาหนะ

(3.)เนื้อหา/มายแมพ

(6.)แผนที่เครือข่ายใยแมงมุม (Web กิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม)
-กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
-กิจกรรมเสริมประสบการณ์ /ชนิด ประเภท การดูแลรักษา
-กิจกรรมเสรี ควรมีมุมที่สัมพันธ์กับหน่วยจัดโมเดลจำลองเหตุการของยานพาหนะ
-กิจกรรมเกมการศึกษา / จับคู่ภาพกับเงยานพาหนะ

(7.)สาระที่ควรเรียนรู้ 
เราจะเขียนเท่าที่เราจะสอน (แผนการจักประสบการณ์)

(12.)เทคนิคการจัดกิจกรรม

-คำถามปลายเปิด เช่น เด็กๆคิดว่ายานพาหนะมีประเภทใดบ้าง




ทักษะ

1. ทักษะการแสดงความคิดเห็น
2. ทักษะการนำเสนอ
3. ทักษะการเขียนสรุปข้อมูล
4. ทักษะการคิด
5. ทักษะการต่อยอดความรู้
6. ทักษะการฟัง
7. ทักษะการสรุปองค์ความรู้
8. ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น

การนำไปประยุกต์ใช้

       ได้ความรู้ในเรื่องของแผนการจัดประสบการณ์ องค์ประกอบต่างๆของแผน มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของการทำแผนการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ โดยบูรณาการให้ได้มากที่สุดในการทำกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรมที่ต้องจัดประสบการณ์ให้กับเด็กในทุกๆวัน นอกจากจะได้รู้แผนการจัดประสบการณ์ของหน่วยตนเองแล้ว ยังรู้เกี่ยวกับแผนการจัดประสบการณ์ของเพื่อนกลุ่มอื่น ได้แก่ หน่วยกล้วย หน่วยยานพาหนะ และหน่วยผลไม้ ทำให้มีประสบการณ์และสามารถนำไปต่อยอดในอนาคตได้

เทคนิคการสอน

1. ใช้คำถาม
2. บรรยาย
3. ทบทวนความรู้
4. ให้ทำงานร่วมกัน

ประเมินครูผู้สอน

           อาจารย์ มีเทคนิคการสอนที่หลากหลายให้ข้อมูลทีครบถ้วนมีการใช้คำถามให้แก้ปัญหาและความรู้หลากหลายรูปแบบและละเอียด เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็น และเเนะนำสิ่งดีๆให้นักศึกษามีบทบาทในการถาม-ตอบร่วมกัน






บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13 วันพุธ ที่ 20 เมษายน 2559




การเรียนการสอน


สาระ

การนำเสนอนิทาน
       
 หน่วยกล้วย
วันพฤหัสบดี เรื่อง ประโยชน์ของกล้วย
นิทานเรื่องกล้วยน้อยช่างคิด
          นำเสนอด้วยรูปเล่ม ในเนื้อหาจะพูดถึงประโยชน์ของกล้วย เช่น ส่วนก้านกล้วยสามารถนำไปประดิษฐ์เป็นม้าก้านกล้วยสำหรับการละเล่นได้ ส่วนใบตอง สามารถนำมาประดิษฐ์เป็นกระทง 2 กลีบ 3 กลีบ (เป็นการบูรณาการคณิตศาสตร์)ในเรื่องของการนับจำนวน หรือการนำใบตองไปห่อขนมเทียนจะบอกถึงรูปร่าง รูปทรง ได้





หน่วยของเล่นของใช้
วันพฤหัสบดี เรื่อง ประโยชน์ของของเล่นของใช้
นิทานเรื่อง หนูจินสอนเพื่อน
         นำเสนอด้วยนิทานมีการใช้เทคนิคการเล่าด้วยนิทานคำกลอน ในเนื้อหาเป็นเรื่องของการเล่าถึงประโยชน์ของของเล่นของใช้ มีตัวละครชื่อหนูจินเป็นผู้เล่าเรื่องซึ่งในเนื้อเรื่องของนิทานมีการบูรณาการคณิตศาสตร์ในเรื่องของการจับคู่เข้าไปด้วย เช่น เสื้อต้องคู่กับกระโปรง ช้อนต้องใช้คู่กับซ้อม ในส่วนของท้ายเรื่องหนูจินได้พูดสรุปถึงประโยชน์ของของเล่นของใช้ คือ ของใช้นั้นใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน ใช้แล้วทำให้เกิดประโยชน์ ส่วนของเล่น เป็นของสมมติ ของเลียนแบบจากของจริง เล่นเพื่อเกิดความสนุกสนานเพลิดเพลินใจ






หน่วยผลไม้
วันพฤหัสบดี เรื่อง ประโยชน์ของผลไม้
นิทาน เรื่องประโยชน์ของผลไม้
          นำเสนอด้วยเทคนิคคำคล้องจอง ในเนื้อหาจะเป็นการพูดถึงประโยชน์ของผลไม่แต่ละชนิดว่ามีประโยชน์อย่างไรบ้าง เช่น ส้มมีวิตามินซีช่วยเรื่องผิวใส มังคุดช่วยเรื่องร้อนใน เป็นต้น มีการใช้คำศัพท์ทางคณิตศาสตร์ เช่น ใหญ๊ใหญ่ เล้กเล็ก เป็นต้น มีการบูรณาการคณิตศาสตร์ เรื่องรูปร่างรูปทรง ขนาด ที่มีลักษณะแตกต่างกันในผลไม้แต่ละชนิดอีกด้วย





หน่วยยานพาหนะ
วันพุธ เรื่อง วิธีการดูแลรักษา
นิทาน เรื่องหมีน้อยกับรถคู่ใจ
            นำเสนอด้วยรูปแบบ โดยมีตัวละคร คือ หมีน้อย คุณแม่และคุณยาย ในเนื้อหาจะเล่าถึงการดูแลรักษาการใช้ยานพาหนะก่อนจะใช้งานและหลังจากที่หมีขับรถไปเปื้อนโคลนก็จะดูแลรักษาทำความสะอาด เช่น การตรวจสภาพเครื่องยนต์ เช็คน้ำมัน ที่ปัดน้ำฝน ล้อรถ ล้างทำความสะอาดรถ เช็ดทำความสะอาด มีการบูรณาการคณิตศาสตร์ในเรื่องของเวลาตอนหมีน้อยตื่นนอน จำนวนของผลไม้ที่อยู่ในตะกร้าที่จะนำไปฝากยาย ทิศทางการเลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวาและตรงไป เป็นต้น






การนำเสนองานวิจัย
งานวิจัย เรื่อง การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้ศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ (นางสาวยุคลธร ศรียะลา)

             เป็นการใช้ศิลปะบูรณาการ ศิลปะค้นหา และศิลปะเลียนแบบ 
ทักษะคณิตศาสตร์
1. การจำแนก
2. การบอกตำแหน่ง
3. การนับเลข
4. การรู้ค่าจำนวน




ทักษะ
1. ทักษะการออกแบบ
2. ทักษะการนำเสนอ
3. ทักษะการเล่านิทาน
4. ทักษะการใช้ประสบการณ์เดิม
5. ทักษะการต่อยอดความรู้
6. ทักษะการฟัง
7. ทักษะการสรุปองค์ความรู้

การนำไปประยุกต์ใช้

           สามารถนำความรู้ที่ได้รับจากคำแนะนำของอาจารย์ไปประยุกต์ใช้ในการทำหนังสือสื่อนิทานและยังความรู้ได้จากการนำเสนอนิทานของเพื่อนแต่ละกลุ่ม ทำให้มีประสบการณ์มากขึ้นนำไปใช้ในการเรียนการสอน มีแนวทางในการเสริมประสบการณ์ด้านคณิตศาสตร์จากการบูรณาการที่เราจะเสริมเข้าไปตามหน่วยแต่ละหน่วยที่เด็กเรียนรู้

ประเมินครูผู้สอน


               อาจารย์มีเทคนิคการสอนที่หลากหลายให้นักศึกษานำเสนอความรู้สู่เพื่อนๆ มีคำแนะนำที่ดีสำหรับนักศึกษาเสมอ บรรยาย อธิบายวิธีการ เนื้อหาอย่างละเอียด คอยบอกเทคนิคแนวทางที่จะทำให้นักศึกษาได้ประโยชน์อย่างสูงสุดและสามารถนำมาปรับใช้ได้




บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12 วันพุธที่ 30 มีนาคม 2559





การเรียนการสอน


 สาระ

นำเสนอวิจัยเพิ่มเติม เรื่องทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับจากการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ (นายอารักษ์ ศักดิกุล)

 การวิจัยครั้งนี้ เปนการวิจัยกึ่งทดลอง  เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตรของ เด็กปฐมวัยกอนและหลังการทํากิจกรรมศิลปสรางสรรคดวยขนมอบ ทั้งนี้เพื่อเปนประโยชน และเปน แนวทางสําหรับครู ผูปกครอง และผูที่เกี่ยวของกับการจัดการศึกษาปฐมวัย ในการพิจาณาเลือกกิจกรรม ที่จะชวยสงเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตรแกเด็กปฐมวัยไดอยางเหมาะสม ซึ่งมีลําดับขั้นตอน ของการวิจัยและผลของการวิจัย โดยสรุป ดังนี้
 ความมุงหมายของการวิจัย 
       เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตรของเด็กปฐมวัย กอนและหลังการจัดกิจกรรม ศิลปสรางสรรคดวยขนมอบ ได้แก่ การสังเกต เปรียบเทียบ จำแนก จัดหมวดหมู่
กลุมตัวอยาง   
       กลุมตัวอยางที่ใชในการวิจัยครั้งนี้ เปนเด็กปฐมวัยชาย-หญิง ที่มีอายุ 3 – 4 ป ซึ่งกําลัง ศึกษาอยูในชั้นอนุบาลปที่ 1/3 ภาคเรียนที่ 2 ปการศึกษา 2551 ของโรงเรียนอนุบาลกุกไก  สังกัด สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน  จํานวน  20 คน 
       กิจกรรมศิลปสรางสรรคดวยขนมอบเปนกิจกรรมที่ใชขนมอบประเภทตางๆ ในการทํากิจกรรม เชน ขนมปง คุกกี้ เคก ฯลฯ ซึ่งในการทํากิจกรรมเด็กสามารถเลือกทําไดตามความสามารถ และ ความสนใจ โดยมีวัตถุประสงค เพื่อใหเด็กไดเกิดการเรียนรู จากการใชประสาทสัมผัสในการทํากิจกรรม ศิลปะสรางสรรคดวยขนมอบ ทั้งนี้ยังฝกฝนเรื่องการสังเกตและการจําแนก การเปรียบเทียบ การจัด หมวดหมู ซึ่งผูวิจัยสรางขึ้นโดยยึดหลักของการทํากิจกรรมศิลปสรางสรรค ตามคูมือหลักสูตรการศึกษา ปฐมวัย 2546 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวของกับการจัดกิจกรรมศิลปสรางสรรค ตลอดจนการยึด ตามความเหมาะสมสอดคลองกับพัฒนาการและความสนใจของเด็กเปนหลัก

แผนการสอน
ชื่อกิจกรรม  ขนมปงแผนแตงหนา  
จุดประสงค
1. เพื่อใหนักเรียนไดพัฒนาการใชกลามเนื้อเล็กและการประสานสัมพันธระหวางมือกับตา  
2. เพื่อใหนักเรียนไดฝกการรับรูประสาทสัมผัส  
3. เพื่อใหนักเรียนไดรูจักสีแดง  สีขาว  สีเขียว  สีชมพู  
4. เพื่อใหนักเรียนไดฝกทักษะการสังเกตและการจําแนก  เปรียบเทียบ  จัดหมวดหมู  
5. เพื่อใหนักเรียนไดสงเสริมการแสดงออก  
6. เพื่อใหนักเรียนเกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน
เนื้อหา    ขนมปงแผนแตงหนา 

กิจกรรมการเรียนรู  

ขั้นนํา  (กระตุ้นเด็ก)
1. นักเรียนและครูสนทนารวมกันคิดหาคําตอบจากปริศนาคําทาย อะไรเอย เปนแผน  สีขาว  นิยมทานคูกับแยม 2. นักเรียนและครูสนทนารวมกัน  ดังนี้     
     2.1 ขนมปงมีลักษณะอยางไร  มีสีอะไร     
     2.2 ขนมปงมีสีอะไร  รสชาติเปนอยางไร  มีใครเคยทานบาง     
     2.3 นักเรียนคิดวาขนมปงทํามาจากอะไร     
     2.4 นักเรียนคิดวาขนมปงมีประโยชนไหม  และมีประโยชนอยางไร  

ขั้นสอน   
1. เด็กเลือกหยิบอุปกรณตามความสนใจของตนเอง  
 2. เด็กทํากิจกรรมตามความสนใจ โดยการนําขนมปงแผนรูปทรงตางๆ แยมผลไม  เกล็ด ช็อกโกแลต มาโรยหนา ทา วาด เขียน เพื่อสรางชิ้นงานตามความคิดและจินตนาการของตนเอง   
3. เมื่อทํากิจกรรมเสร็จแลวใหนําชิ้นงานวางบนถาดรองไปจัดรวมกันไวที่หนาชั้นเรียน   
4. เด็กชวยกันเก็บของ  ทําความสะอาดใหเรียบรอย 

ขั้นสรุป
1. นักเรียนนําเสนอผลงานของตนเองและสนทนารวมกับครู  ดังนี้    
     1.1 นักเรียนใชขนมปงรูปทรงใดบางมาทํากิจกรรม    
     1.2 ในชิ้นงานของนักเรียนมีอะไรที่เหมือนกัน  และอะไรที่ตางกัน  ตางกันอยางไร    
     1.3 ขนมปงของนักเรียนมีอะไรซอนอยูขางใน    
     1.4 นักเรียนคิดวาระหวางแยมผลไม กับเกล็ดช็อกโกแลต และขนมปง ตางกันหรือ เหมือนกันอยางไรบาง
สื่อการเรียน  
1. ขนมปงแผนรูป  
2. แยมผลไมบรรจุในถุง 3สี  คือ  แยมสม  แยมสตอเบอรี่  แยมบลูเบอรรี่  แยมสัปปะรด 
3. เกล็ดช็อกโกแลต  
4. ถาดรองสําหรับวางชิ้นงาน  
5. ผาพลาสติกปูโตะ  
6. ถาดสําหรับใสขนม  

การประเมินผล  
1. สังเกตการทํากิจกรรมและการสนทนา  
2. สังเกตพฤติกรรมขณะเด็กทํากิจกรรม   



กิจกรรมการเรียนการสอน

นำเสนอแผนการจัดประสบการณ์แต่ละหน่วยที่ทุกกลุ่มเตรียมมา

หน่วย ยานพาหนะ

        สอนเรื่อง ประเภทของยานพาหนะ มี 3 ประเภท คือ ทางอากาศ ทางบก และทางน้ำ ขั้นนำเริ่มด้วยการถามประสบการณ์เดิมว่า "ตอนเช้าเด็กๆมาโรงเรียนกันด้วยยานพาหนะอะไรบ้าง"  ขั้นสอน ครูแนะนำอุปกรณ์ คือ ยานพาหนะที่อยู่ในกล่องและถามเด็กๆว่า ยานพาหนะประเภทนี้ควรจะอยู่ทางน้ำ ทางบก หรือทางอากาศ ให้เด็กๆออกมานำยานพาหนะไปติดทีละคน เช่น บอลลูน นำไปติดบนฟ้า โดยครูแนะนำเพิ่มเติมในเรื่องของเทคนิคในการสอนที่ให้น่าสนใจคือ อาจจะให้ทำผ้าคุมกล่องไว้เวลาที่จะหยิบสื่อขึ้นมาเพื่อให้มีความตื่นเต้นน่าสนใจในกิจกรรม



หน่วย ของเล่นของใช้

           สอนเรื่องประเภทของเล่นของใช้ ขั้นนำ เริ่มด้วยเพลงเก็บของ และเชื่อมโยงด้วยคำถาม คือ ถามเด็กๆว่า เวลาที่เด็กเล่นหรือใช้ของใช้ และการเก็บของเข้าที่ ใช้คำถามประสบการณืเดิมว่า่ " แล้วของเล่นของใช้ที่เด็กๆรู้จักหรือเคยใช้มีอะไรบ้าง" ขั้นสอน สอนด้วยการที่ครูนำสื่อองเล่นของใช้ของจริงมาให้เด็กดู และบอกชื่อของชิ้นนั้น รูแจกของเล่นของใช้ให้เด็กคนละ 1 ชิ้น โดยให้เด็กนับไปด้วยเมื่อครูแจกคนที่ 1 ให้เด็กๆนับหนึ่ง เมื่อครูแจกคนที่สองให้เด็กๆนับสอง ไปจนถึงคนสุดท้าย แล้วครูสรุปว่าของเล่นของใช้มีทั้งหมด 15 ชิ้น ให้เด็กๆแยกประเภทว่าของที่ตนเองได้เป็นของเล่นหรือของใช้ แล้วให้เด็กนำมาวางไว้ที่ตะกร้าหน้าห้องให้ถูกต้อง ขั้นสรุป คือให้เด็กออกมาเสนอว่าของเล่นที่ตนเองได้เป็นของเล่นหรือของใช้ และครูพูดสรุปว่าของเล่นของใช้



หน่วย ผลไม้

               สอนเรื่องชนิดของผลไม้ ที่ยกมาวันนี้คือผลไม้ 2 ชนิด มะยงชิด กับองุ่น ครูพูดคุยถามเด็กเกี่ยวกับผลไม้ที่เด็กๆรู้จัก และให้ลองสังเกตผลไม้แต่ละชนิดว่ามีลักษณะอย่างไร ให้สังเกต รูปทรง กลิ่น สี ส่วนประกอบ และรสชาติ ของผลไม้ และสรุปโดยการให้เด็กๆช่วยกันตอบว่าผลไม้ 2 ชนิดมีลักษณะเป็นอย่างไรบ้าง




หน่วย กล้วย

           สอนเรื่องชนิดของกล้วย ที่ยกมาวันนี้คือ กล้วย 2 ชนิด ได้แก่ กล้วยหอมทองและกล้วยน้ำว้า ขั้นนำโดยเพลงกล้วย ครูนำกล้วยชนิดที่ 1 ให้เด็กสังเกตดู แล้วถามเด็กว่ามีลักษณะอย่างไร แล้วครูเติมคำลงในช่องวิเคราะห์ข้อมูล ต่อมา ครูนำ กล้วยชนิดที่ 2 ขึ้นมาให้เด็กสังเกตดู แล้วถามเด็กๆว่ามีลักษณะอย่างไรพร้อมเติมคำลงในช่องวิเคราะห์ข้อมูล ขั้นสรุป ครูสรุปว่ากล้วยมีลักษณะ สี ขนาด รูปทรง รสชาติ กลิ่น ส่วนประกอบ เป็นอย่างไร




ทักษะ

1. ทักษะการฟัง
2. ทักษะการสังเกต
3. ทักษะการคิดวิเคราะห์
4. ทักษะการรวบรวมข้อมูล
5. ทักษะในการเป็นผู้สอน (เป็นผู้สอนที่ดี)
6. ทักษะในการคิดต่อยอดองค์ความรู้

การนำไปประยุกต์ใช้

       ได้รับความรู้ในเรื่องของเนื้อหา หน่วยที่เราจะต้องใช้จัดประสบการณ์ให้แก่เด็ก แต่ยังได้เรียนรู้หน่วยอื่นๆของเพื่อนที่นำมาเสนอ เพื่อเป็นแนวทางให้เรานำไปประยุกต์ทำแผนการสอนได้เมื่อเราจัดกิจกรรมในหน่วยนั้นๆ และวิธีการสอนต้องสอนเด็กจากสิ่งง่ายๆก่อน 

เทคนิคการสอนของครู

1. ให้นักศึกษานำเสนอความรู้สู่เพื่อนๆ
2. จำลองสถานการณ์จริง
3. บรรยาย อธิบายวิธีการ เนื้อหาอย่างละเอียด
4. ให้เทคนิควิธีการใหม่ๆเพื่อให้นักศึกษานำไปใช้
ประเมินครูผู้สอน

           ครูสอนได้ละเอียดมาก ครูอธิบาย ยกตัวอย่าง ให้ข้อเสนอแนะเพื่อให้นักศึกษานำไปปรับปรุงแก้ไข เสริมความรู้ใหม่ๆสรุปความรู้ประเด็นสำคัญให้นักศึกษานำไปใช้พร้อมทั้งสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมในเรื่องของการเป็นผู้ฟังที่ดีให้แก่นักศึกษาอยู่เสมอ