พุยพุย

วันจันทร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2559


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12 วันพุธที่ 30 มีนาคม 2559





การเรียนการสอน


 สาระ

นำเสนอวิจัยเพิ่มเติม เรื่องทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับจากการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ (นายอารักษ์ ศักดิกุล)

 การวิจัยครั้งนี้ เปนการวิจัยกึ่งทดลอง  เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตรของ เด็กปฐมวัยกอนและหลังการทํากิจกรรมศิลปสรางสรรคดวยขนมอบ ทั้งนี้เพื่อเปนประโยชน และเปน แนวทางสําหรับครู ผูปกครอง และผูที่เกี่ยวของกับการจัดการศึกษาปฐมวัย ในการพิจาณาเลือกกิจกรรม ที่จะชวยสงเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตรแกเด็กปฐมวัยไดอยางเหมาะสม ซึ่งมีลําดับขั้นตอน ของการวิจัยและผลของการวิจัย โดยสรุป ดังนี้
 ความมุงหมายของการวิจัย 
       เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตรของเด็กปฐมวัย กอนและหลังการจัดกิจกรรม ศิลปสรางสรรคดวยขนมอบ ได้แก่ การสังเกต เปรียบเทียบ จำแนก จัดหมวดหมู่
กลุมตัวอยาง   
       กลุมตัวอยางที่ใชในการวิจัยครั้งนี้ เปนเด็กปฐมวัยชาย-หญิง ที่มีอายุ 3 – 4 ป ซึ่งกําลัง ศึกษาอยูในชั้นอนุบาลปที่ 1/3 ภาคเรียนที่ 2 ปการศึกษา 2551 ของโรงเรียนอนุบาลกุกไก  สังกัด สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน  จํานวน  20 คน 
       กิจกรรมศิลปสรางสรรคดวยขนมอบเปนกิจกรรมที่ใชขนมอบประเภทตางๆ ในการทํากิจกรรม เชน ขนมปง คุกกี้ เคก ฯลฯ ซึ่งในการทํากิจกรรมเด็กสามารถเลือกทําไดตามความสามารถ และ ความสนใจ โดยมีวัตถุประสงค เพื่อใหเด็กไดเกิดการเรียนรู จากการใชประสาทสัมผัสในการทํากิจกรรม ศิลปะสรางสรรคดวยขนมอบ ทั้งนี้ยังฝกฝนเรื่องการสังเกตและการจําแนก การเปรียบเทียบ การจัด หมวดหมู ซึ่งผูวิจัยสรางขึ้นโดยยึดหลักของการทํากิจกรรมศิลปสรางสรรค ตามคูมือหลักสูตรการศึกษา ปฐมวัย 2546 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวของกับการจัดกิจกรรมศิลปสรางสรรค ตลอดจนการยึด ตามความเหมาะสมสอดคลองกับพัฒนาการและความสนใจของเด็กเปนหลัก

แผนการสอน
ชื่อกิจกรรม  ขนมปงแผนแตงหนา  
จุดประสงค
1. เพื่อใหนักเรียนไดพัฒนาการใชกลามเนื้อเล็กและการประสานสัมพันธระหวางมือกับตา  
2. เพื่อใหนักเรียนไดฝกการรับรูประสาทสัมผัส  
3. เพื่อใหนักเรียนไดรูจักสีแดง  สีขาว  สีเขียว  สีชมพู  
4. เพื่อใหนักเรียนไดฝกทักษะการสังเกตและการจําแนก  เปรียบเทียบ  จัดหมวดหมู  
5. เพื่อใหนักเรียนไดสงเสริมการแสดงออก  
6. เพื่อใหนักเรียนเกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน
เนื้อหา    ขนมปงแผนแตงหนา 

กิจกรรมการเรียนรู  

ขั้นนํา  (กระตุ้นเด็ก)
1. นักเรียนและครูสนทนารวมกันคิดหาคําตอบจากปริศนาคําทาย อะไรเอย เปนแผน  สีขาว  นิยมทานคูกับแยม 2. นักเรียนและครูสนทนารวมกัน  ดังนี้     
     2.1 ขนมปงมีลักษณะอยางไร  มีสีอะไร     
     2.2 ขนมปงมีสีอะไร  รสชาติเปนอยางไร  มีใครเคยทานบาง     
     2.3 นักเรียนคิดวาขนมปงทํามาจากอะไร     
     2.4 นักเรียนคิดวาขนมปงมีประโยชนไหม  และมีประโยชนอยางไร  

ขั้นสอน   
1. เด็กเลือกหยิบอุปกรณตามความสนใจของตนเอง  
 2. เด็กทํากิจกรรมตามความสนใจ โดยการนําขนมปงแผนรูปทรงตางๆ แยมผลไม  เกล็ด ช็อกโกแลต มาโรยหนา ทา วาด เขียน เพื่อสรางชิ้นงานตามความคิดและจินตนาการของตนเอง   
3. เมื่อทํากิจกรรมเสร็จแลวใหนําชิ้นงานวางบนถาดรองไปจัดรวมกันไวที่หนาชั้นเรียน   
4. เด็กชวยกันเก็บของ  ทําความสะอาดใหเรียบรอย 

ขั้นสรุป
1. นักเรียนนําเสนอผลงานของตนเองและสนทนารวมกับครู  ดังนี้    
     1.1 นักเรียนใชขนมปงรูปทรงใดบางมาทํากิจกรรม    
     1.2 ในชิ้นงานของนักเรียนมีอะไรที่เหมือนกัน  และอะไรที่ตางกัน  ตางกันอยางไร    
     1.3 ขนมปงของนักเรียนมีอะไรซอนอยูขางใน    
     1.4 นักเรียนคิดวาระหวางแยมผลไม กับเกล็ดช็อกโกแลต และขนมปง ตางกันหรือ เหมือนกันอยางไรบาง
สื่อการเรียน  
1. ขนมปงแผนรูป  
2. แยมผลไมบรรจุในถุง 3สี  คือ  แยมสม  แยมสตอเบอรี่  แยมบลูเบอรรี่  แยมสัปปะรด 
3. เกล็ดช็อกโกแลต  
4. ถาดรองสําหรับวางชิ้นงาน  
5. ผาพลาสติกปูโตะ  
6. ถาดสําหรับใสขนม  

การประเมินผล  
1. สังเกตการทํากิจกรรมและการสนทนา  
2. สังเกตพฤติกรรมขณะเด็กทํากิจกรรม   



กิจกรรมการเรียนการสอน

นำเสนอแผนการจัดประสบการณ์แต่ละหน่วยที่ทุกกลุ่มเตรียมมา

หน่วย ยานพาหนะ

        สอนเรื่อง ประเภทของยานพาหนะ มี 3 ประเภท คือ ทางอากาศ ทางบก และทางน้ำ ขั้นนำเริ่มด้วยการถามประสบการณ์เดิมว่า "ตอนเช้าเด็กๆมาโรงเรียนกันด้วยยานพาหนะอะไรบ้าง"  ขั้นสอน ครูแนะนำอุปกรณ์ คือ ยานพาหนะที่อยู่ในกล่องและถามเด็กๆว่า ยานพาหนะประเภทนี้ควรจะอยู่ทางน้ำ ทางบก หรือทางอากาศ ให้เด็กๆออกมานำยานพาหนะไปติดทีละคน เช่น บอลลูน นำไปติดบนฟ้า โดยครูแนะนำเพิ่มเติมในเรื่องของเทคนิคในการสอนที่ให้น่าสนใจคือ อาจจะให้ทำผ้าคุมกล่องไว้เวลาที่จะหยิบสื่อขึ้นมาเพื่อให้มีความตื่นเต้นน่าสนใจในกิจกรรม



หน่วย ของเล่นของใช้

           สอนเรื่องประเภทของเล่นของใช้ ขั้นนำ เริ่มด้วยเพลงเก็บของ และเชื่อมโยงด้วยคำถาม คือ ถามเด็กๆว่า เวลาที่เด็กเล่นหรือใช้ของใช้ และการเก็บของเข้าที่ ใช้คำถามประสบการณืเดิมว่า่ " แล้วของเล่นของใช้ที่เด็กๆรู้จักหรือเคยใช้มีอะไรบ้าง" ขั้นสอน สอนด้วยการที่ครูนำสื่อองเล่นของใช้ของจริงมาให้เด็กดู และบอกชื่อของชิ้นนั้น รูแจกของเล่นของใช้ให้เด็กคนละ 1 ชิ้น โดยให้เด็กนับไปด้วยเมื่อครูแจกคนที่ 1 ให้เด็กๆนับหนึ่ง เมื่อครูแจกคนที่สองให้เด็กๆนับสอง ไปจนถึงคนสุดท้าย แล้วครูสรุปว่าของเล่นของใช้มีทั้งหมด 15 ชิ้น ให้เด็กๆแยกประเภทว่าของที่ตนเองได้เป็นของเล่นหรือของใช้ แล้วให้เด็กนำมาวางไว้ที่ตะกร้าหน้าห้องให้ถูกต้อง ขั้นสรุป คือให้เด็กออกมาเสนอว่าของเล่นที่ตนเองได้เป็นของเล่นหรือของใช้ และครูพูดสรุปว่าของเล่นของใช้



หน่วย ผลไม้

               สอนเรื่องชนิดของผลไม้ ที่ยกมาวันนี้คือผลไม้ 2 ชนิด มะยงชิด กับองุ่น ครูพูดคุยถามเด็กเกี่ยวกับผลไม้ที่เด็กๆรู้จัก และให้ลองสังเกตผลไม้แต่ละชนิดว่ามีลักษณะอย่างไร ให้สังเกต รูปทรง กลิ่น สี ส่วนประกอบ และรสชาติ ของผลไม้ และสรุปโดยการให้เด็กๆช่วยกันตอบว่าผลไม้ 2 ชนิดมีลักษณะเป็นอย่างไรบ้าง




หน่วย กล้วย

           สอนเรื่องชนิดของกล้วย ที่ยกมาวันนี้คือ กล้วย 2 ชนิด ได้แก่ กล้วยหอมทองและกล้วยน้ำว้า ขั้นนำโดยเพลงกล้วย ครูนำกล้วยชนิดที่ 1 ให้เด็กสังเกตดู แล้วถามเด็กว่ามีลักษณะอย่างไร แล้วครูเติมคำลงในช่องวิเคราะห์ข้อมูล ต่อมา ครูนำ กล้วยชนิดที่ 2 ขึ้นมาให้เด็กสังเกตดู แล้วถามเด็กๆว่ามีลักษณะอย่างไรพร้อมเติมคำลงในช่องวิเคราะห์ข้อมูล ขั้นสรุป ครูสรุปว่ากล้วยมีลักษณะ สี ขนาด รูปทรง รสชาติ กลิ่น ส่วนประกอบ เป็นอย่างไร




ทักษะ

1. ทักษะการฟัง
2. ทักษะการสังเกต
3. ทักษะการคิดวิเคราะห์
4. ทักษะการรวบรวมข้อมูล
5. ทักษะในการเป็นผู้สอน (เป็นผู้สอนที่ดี)
6. ทักษะในการคิดต่อยอดองค์ความรู้

การนำไปประยุกต์ใช้

       ได้รับความรู้ในเรื่องของเนื้อหา หน่วยที่เราจะต้องใช้จัดประสบการณ์ให้แก่เด็ก แต่ยังได้เรียนรู้หน่วยอื่นๆของเพื่อนที่นำมาเสนอ เพื่อเป็นแนวทางให้เรานำไปประยุกต์ทำแผนการสอนได้เมื่อเราจัดกิจกรรมในหน่วยนั้นๆ และวิธีการสอนต้องสอนเด็กจากสิ่งง่ายๆก่อน 

เทคนิคการสอนของครู

1. ให้นักศึกษานำเสนอความรู้สู่เพื่อนๆ
2. จำลองสถานการณ์จริง
3. บรรยาย อธิบายวิธีการ เนื้อหาอย่างละเอียด
4. ให้เทคนิควิธีการใหม่ๆเพื่อให้นักศึกษานำไปใช้
ประเมินครูผู้สอน

           ครูสอนได้ละเอียดมาก ครูอธิบาย ยกตัวอย่าง ให้ข้อเสนอแนะเพื่อให้นักศึกษานำไปปรับปรุงแก้ไข เสริมความรู้ใหม่ๆสรุปความรู้ประเด็นสำคัญให้นักศึกษานำไปใช้พร้อมทั้งสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมในเรื่องของการเป็นผู้ฟังที่ดีให้แก่นักศึกษาอยู่เสมอ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น