บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่
13 วันพุธ
ที่ 20 เมษายน 2559
การเรียนการสอน
สาระ
การนำเสนอนิทาน
หน่วยกล้วย
วันพฤหัสบดี
เรื่อง ประโยชน์ของกล้วย
นิทานเรื่องกล้วยน้อยช่างคิด
นำเสนอด้วยรูปเล่ม
ในเนื้อหาจะพูดถึงประโยชน์ของกล้วย เช่น
ส่วนก้านกล้วยสามารถนำไปประดิษฐ์เป็นม้าก้านกล้วยสำหรับการละเล่นได้ ส่วนใบตอง
สามารถนำมาประดิษฐ์เป็นกระทง 2 กลีบ 3 กลีบ
(เป็นการบูรณาการคณิตศาสตร์)ในเรื่องของการนับจำนวน หรือการนำใบตองไปห่อขนมเทียนจะบอกถึงรูปร่าง
รูปทรง ได้
หน่วยของเล่นของใช้
วันพฤหัสบดี
เรื่อง ประโยชน์ของของเล่นของใช้
นิทานเรื่อง หนูจินสอนเพื่อน
นำเสนอด้วยนิทานมีการใช้เทคนิคการเล่าด้วยนิทานคำกลอน
ในเนื้อหาเป็นเรื่องของการเล่าถึงประโยชน์ของของเล่นของใช้ มีตัวละครชื่อหนูจินเป็นผู้เล่าเรื่องซึ่งในเนื้อเรื่องของนิทานมีการบูรณาการคณิตศาสตร์ในเรื่องของการจับคู่เข้าไปด้วย เช่น
เสื้อต้องคู่กับกระโปรง ช้อนต้องใช้คู่กับซ้อม ในส่วนของท้ายเรื่องหนูจินได้พูดสรุปถึงประโยชน์ของของเล่นของใช้ คือ
ของใช้นั้นใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน ใช้แล้วทำให้เกิดประโยชน์ ส่วนของเล่น
เป็นของสมมติ ของเลียนแบบจากของจริง เล่นเพื่อเกิดความสนุกสนานเพลิดเพลินใจ
หน่วยผลไม้
วันพฤหัสบดี
เรื่อง ประโยชน์ของผลไม้
นิทาน เรื่องประโยชน์ของผลไม้
นำเสนอด้วยเทคนิคคำคล้องจอง
ในเนื้อหาจะเป็นการพูดถึงประโยชน์ของผลไม่แต่ละชนิดว่ามีประโยชน์อย่างไรบ้าง เช่น
ส้มมีวิตามินซีช่วยเรื่องผิวใส มังคุดช่วยเรื่องร้อนใน เป็นต้น มีการใช้คำศัพท์ทางคณิตศาสตร์ เช่น ใหญ๊ใหญ่ เล้กเล็ก เป็นต้น มีการบูรณาการคณิตศาสตร์
เรื่องรูปร่างรูปทรง ขนาด ที่มีลักษณะแตกต่างกันในผลไม้แต่ละชนิดอีกด้วย
หน่วยยานพาหนะ
วันพุธ
เรื่อง วิธีการดูแลรักษา
นิทาน เรื่องหมีน้อยกับรถคู่ใจ
นำเสนอด้วยรูปแบบ โดยมีตัวละคร คือ หมีน้อย
คุณแม่และคุณยาย ในเนื้อหาจะเล่าถึงการดูแลรักษาการใช้ยานพาหนะก่อนจะใช้งานและหลังจากที่หมีขับรถไปเปื้อนโคลนก็จะดูแลรักษาทำความสะอาด เช่น
การตรวจสภาพเครื่องยนต์ เช็คน้ำมัน ที่ปัดน้ำฝน ล้อรถ ล้างทำความสะอาดรถ เช็ดทำความสะอาด มีการบูรณาการคณิตศาสตร์ในเรื่องของเวลาตอนหมีน้อยตื่นนอน
จำนวนของผลไม้ที่อยู่ในตะกร้าที่จะนำไปฝากยาย ทิศทางการเลี้ยวซ้าย
เลี้ยวขวาและตรงไป เป็นต้น
การนำเสนองานวิจัย
งานวิจัย เรื่อง
การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้ศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
(นางสาวยุคลธร ศรียะลา)
เป็นการใช้ศิลปะบูรณาการ ศิลปะค้นหา และศิลปะเลียนแบบ
ทักษะคณิตศาสตร์
1. การจำแนก
2. การบอกตำแหน่ง
3. การนับเลข
4. การรู้ค่าจำนวน
ทักษะ
1. ทักษะการออกแบบ
2. ทักษะการนำเสนอ
3. ทักษะการเล่านิทาน
4. ทักษะการใช้ประสบการณ์เดิม
5. ทักษะการต่อยอดความรู้
6. ทักษะการฟัง
7. ทักษะการสรุปองค์ความรู้
การนำไปประยุกต์ใช้
สามารถนำความรู้ที่ได้รับจากคำแนะนำของอาจารย์ไปประยุกต์ใช้ในการทำหนังสือสื่อนิทานและยังความรู้ได้จากการนำเสนอนิทานของเพื่อนแต่ละกลุ่ม
ทำให้มีประสบการณ์มากขึ้นนำไปใช้ในการเรียนการสอน มีแนวทางในการเสริมประสบการณ์ด้านคณิตศาสตร์จากการบูรณาการที่เราจะเสริมเข้าไปตามหน่วยแต่ละหน่วยที่เด็กเรียนรู้
ประเมินครูผู้สอน
อาจารย์มีเทคนิคการสอนที่หลากหลายให้นักศึกษานำเสนอความรู้สู่เพื่อนๆ มีคำแนะนำที่ดีสำหรับนักศึกษาเสมอ
บรรยาย อธิบายวิธีการ เนื้อหาอย่างละเอียด
คอยบอกเทคนิคแนวทางที่จะทำให้นักศึกษาได้ประโยชน์อย่างสูงสุดและสามารถนำมาปรับใช้ได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น